สบู่สมุนไพร & แชมพูสมุนไพร
ตราโสฬส

สำหรับ ถวายสังฆทาน

โสฬส (อ่านว่า โส-ลด) หมายถึง พรหมโลก 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพชั้นรูปพรหม ถือกันว่าเป็นที่อันบรมสุข

แชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย

เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

สบู่สมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน

เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

สบู่ & แชมพู สมุนไพร
ที่เหมาะกับกิจวัตรของสงฆ์

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะ ของพระภิกษุสงฆ์จากอาการผิวแห้ง และอาการคัน เหมาะกับกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดด และสัมผัสกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ

“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”

ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”

“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ

การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร

1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย

2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก

@solot

สังฆทาน คืออะไร

สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของที่เป็นปัจจัยสี่แด่พระภิกษุสงฆ์หรือเป็นสิ่งที่พระภิกษุสงฆ์จำเป็นต้องใช้ หรือสรุปได้ว่า “สังฆทานก็คือทานเพื่อพระสงฆ์” หรือ “หมู่ของพระอริยสงฆ์” ไม่ใช่การถวายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ถวายต้องเข้าใจในความหมายคำว่า “หมู่ของอริยสงฆ์” และของที่จะถวายนั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นถังสีเหลือง…แต่จิตของผู้ถวายน้อมบูชาคุณของพระอริยสงฆ์ จิตไม่หวั่นไหว คือ ไม่เลือกภิกษุผู้รับทาน สรุปคือถ้าไม่เข้าใจสังฆทาน ไม่เข้าใจอริยสงฆ์ หรือเลือกผู้รับทานมีจิตหวั่นไหวในผู้รับ ไม่เป็นสังฆทาน ส่วนจำนวนของพระภิกษุที่รับทาน แม้ภิกษุรูปเดียว ที่เป็นตัวแทนของสงฆ์ก็เป็นสังฆทาน วัตถุที่ถวายจะต้องเป็นวัตถุที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น

หากจะให้พระสงฆ์จะเอ่ยขอสิ่งใดๆจากฆารวาสนั้นย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ในฐานะของพุทธศาสนิกชนที่ดี เราก็ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเลือกของไปถวายพระสงฆ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถวายอาหารในแต่ละวัน การถวายสิ่งของเครื่องใช้เป็นสังฆทานในช่วงเข้าพรรษา หรือ ออกพรรษาก็ตาม ก่อนอื่นเราจึงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า กิจวัตรของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสายวัดป่า หรือวัดเมืองนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะเลือกของไปถวายได้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด

“ถ้าอยากจะซื้อของถวายพระ ก็ควรจะถวายสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด ถ้าไม่ดี ก็อย่าไปถวายเลย เพราะหากถวายไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ คุณภาพไม่ดี เกิดชำรุดเสียหาย หมดอายุ หรือ ให้พระเก็บไว้เฉยๆก็ไม่มีประโยชน์อะไร”

ขั้นตอนการถวายสังฆทานให้ผู้ล่วงลับ และสังฆทานวันเกิด

เมื่อเรามีจิตศรัทธาและตั้งใจแน่วแน่ที่จะไปถวายสังฆทานแล้ว เราควรเตรียมความพร้อม และ ทำการศึกษาขั้นตอนการถวายสังฆทาน ว่ามีลำดับขั้นตอนอย่างไร เพื่อเราจะได้ทำความเข้าใจ และ จัดเตรียมได้อย่างถูกต้องและไม่ขาดตกบกพร่อง …ซึ่งเราจะแยกลำดับขั้นตอนถวายสังฆทาน 3 ส่วนหลัก คือ

ส่วนแรก : ของถวายสังฆทาน ควรมีอะไรบ้าง
ส่วนที่สอง : เลือกวัดที่ต้องการถวาย
ส่วนที่สาม : คือส่วนของพิธีกรรม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมกราบสามครั้ง (ถ้ามี)
2. กล่าวอาราธนาศีล รับศีล หากเราจำคำอาราธนาศีลไม่ได้ ไม่ต้องกังวล เพราะวัดส่วนใหญ่ จะมีการจัดเตรียมเอกสารไว้ให้เพื่อความสะดวก หรือ พระท่านจะว่านำ แล้วให้เรากล่าวตาม
3. เมื่อรับศีลจบให้ท่องนะโม 3 จบ แล้วตามด้วยคำถวายสังฆทาน
4. เมื่อกล่าวจบให้ประเคน**เครื่องสังฆทาน ซึ่งมีวิธีประเคน ดั้งนี้

  • ควรนั่งคุกเข่า ถ้าพระนั่ง ยืน หรือนั่งบนเก้าอี้
  • ยกสังฆทานนั้นด้วยมือทั้งสอง
  • น้อมสังฆทานนั้นเข้าไปใกล้พระ
  • ยกสังฆทานให้พ้นจากพื้น พอประมาณ
  • ส่งถวายถึงมือพระผู้รับประเคนทีละอย่าง
  • ถ้าเป็นสุภาพสตรี ให้วางสังฆทานนั้นลงบนผ้าที่พระจับทอดไว้
  • ไม่ควรถวายโดยวิธีจับของชนกัน แม้ของมากอย่างก็ควรถวายทีละอย่าง
  • เมื่อประเคนแล้วอย่าได้จับสังฆทานนั้นอีก ถ้าจับต้องประเคนใหม่
  • เมื่อประเคนเสร็จแล้ว ให้ประนมมือน้อมศีรษะไหว้ด้วยความเคารพทุกครั้ง

5. จากนั้นให้ผู้ถวายกรวดน้ำ เมื่อทำการกรวดน้ำเสร็จเรียบร้อยให้กราบ 3 ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

**การประเคน หมายถึง การมอบให้ด้วยความเคารพใช้ปฏิบัติต่อพระสงฆ์เพราะมีพระวินัย บัญญัติห้ามพระสงฆ์หยิบสิ่งของมาขบฉันเองโดยไม่มีผู้ประเคน ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น น้ำฝน น้ำประปา เป็นต้น การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

จะไปถวายสังฆทานกี่โมงดี

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา แต่อย่างไรก็ตามก็ควรดูถึงความเหมาะสมและกาละเทศะด้วย ว่าพระสงฆ์ท่านติดกิจธุระ ไปรบกวนท่านหรือเปล่า โดยส่วนใหญ่แล้วก็ควรไปทำสังฆทานในช่วงเวลาเช้าถึงเย็น นอกจากนี้หากนำอาหาร ผลไม้ เครื่องดื่ม ของกินของขบเคี้ยวไปถวายเป็นสังฆทาน หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเวลาเช้าหรือเพล (ควรจะไปก่อนเวลา 10.30 น.) เพราะทิ้งไว้ข้ามวันไม่ได้ อาหารจะเสีย และพระสงฆ์ท่านไม่ฉันอาหารหลังเที่ยง แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ก็ต้องนึกด้วยว่าที่วัดนั้นๆมีที่เก็บอาหารด้วยรึเปล่า

ไปถวายสังฆทานที่ไหนดี

หลายท่านคงอาจจะเคยมีความคิดว่า การถวายสังฆทานกับพระสงฆ์ในเขตเมืองที่มีความเจริญนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ เพราะอาจจะมองว่าท่านไม่ได้ขาด พอเราถวายไปท่านก็คงไม่ได้ใช้ หรือ อาจจะใช้สังฆทานเวียนที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ ก็อาจจะไม่เกิดศรัทธา จึงมองว่าการถวายสังฆทานกับพระสายวัดป่า ตามพื้นที่ห่างไกลนั้นจะเกิดบุญได้มากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถที่จะถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นพระสายวัดป่า หรือ พระสงฆ์ในเมืองก็ได้ โดยให้พิจารณาที่จิตของตนเองเป็นสำคัญ

นอกจากนี้พระสายวัดป่า (พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระธุดงค์กรรมฐาน) ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในป่าเขา ความเป็นจริงแล้วพระสายวัดป่าก็คือ พระสงฆ์ที่เน้นการศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ และอาศัยอยู่ตามสถานที่ที่ค่อนข้างสงบ เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติ ซึ่งไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งพระสายวัดป่าจะมีข้อปฎิบัติที่ประกอบด้วย

  • ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
  • ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
  • ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
  • ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
  • ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
  • ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
  • ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
  • ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
  • ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
  • ถือการอยู่ อัพโภกาลิกังคะ ที่แจ้งเป็นวัตร
  • ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
  • ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
  • ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร

การเลือกของถวายสังฆทานสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ไอเดียจัดชุดสังฆทาน ของแต่ละท่านอาจจะมีความแตกต่างกันได้เป็นธรรมดา แต่อย่างน้อยก็ควรพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่ โดยสิ่งของที่นิยมนำไปถวาย นั้นสามารถเลือกหากันได้ตามกำลังเลือกได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

1 อาหาร และน้ำดื่ม : นอกเหนือจากอาหารสด และน้ำดื่มที่จะนำไปถวาย ก็ให้พิจารณาด้วยว่าที่วัด หรือ สำนังสงฆ์แห่งนั้น มีโรงครัวหรือไม่ (มีการเตรียมอาหารนอกเหนือจากรอญาติโยมมาตักบาตรในแต่ละวัน) หากมีโรงครัวก็สามารถถวายข้าวสารอาหารแห้ง น้ำมันพืช หรือ อุปกรณ์ในการทำอาหาร เช่น เตาแก๊ส แก๊ส ที่จุดเตา เครื่องครัว ถ้วย ชาม จาน ช้อน ส้อม
2. อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ไม้กวาด ที่โกยผง ถังขยะ ถุงขยะ ไม้ถูพื้น ผ้าขี้ริ้ว น้ำยาล้างห้องน้ำ ที่ล้างจาน น้ำยาล้างจาน กระดาษชำระ
3 . สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร มีดโกน ใบมีด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาซักจีวร รองเท้าแตะ
4. อุปกรณ์ไฟฟ้า และ ซ่อมแซม เช่น ไฟฉาย หลอดไฟ สายชาร์จโทรศัพท์ ปลั๊กพ่วง พัดลม บาลาสต์ สตาร์ทเตอร์ เทปพันสายไฟ เทปพันก๊อกน้ำ
5. ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยาหม่อง ยานวด ยาแก้ท้องเสีย ยาใส่แผลสด สำลี แอลกอฮอล์ น้ำเกลือ พลาสเตอร์
6. ธูป เทียน ไฟแช็ค หนังสือธรรมะ หรือ หนังสือสวดมนต์ต่างๆ
7. ผ้าไตรจีวร ให้เลือกสีแก่นขนุน หรือ สีกรัก คุณภาพดีๆ (พระสงฆ์ส่วนมากใช้ขนาด 2.0 เมตร)
8. สมุด ปากกา เครื่องเขียน
9. เสื่อ อาสนะ กลด หมอน มุ้ง ผ้าปู (สำหรับจำวัด)

ทั้งนี้ ของถวายสังฆทานสามารถซื้อแบบชุดสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป หรือ สามารถจัดชุดสังฆทานทำเองก็ได้ (สังฆทานทำเอง คือ ของใช้จำเป็นที่เราจัดเตรียมด้วยตัวเอง เป็นทานที่ตั้งใจถวายแก่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง ให้เป็นของส่วนรวม…โดยจะถวายอะไรก็ได้ที่เหมาะสมกับชีวิตสมถะของพระภิกษุสงฆ์ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธา)

ในการเลือกของถวายพระสงฆ์ เราควรพิจารณาจาก “ความจำเป็น” ของถวายพระที่จำเป็นสำหรับพระ เรียกว่า “ทานวัตถุ” มี 10 ประเภท คือ อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลา คนฺธ วิเลปนํ เสยฺยา วสถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถู อิเม ทส. ได้แก่

  1. อนฺนํ = ข้าว คือ ข้าวสาร อาหารแห้ง ข้าวสุก กับแกง ของหวาน ผลไม้ ถ้วย ชาม จาน ช้อน หม้อข้าว ทัพพี เครื่องครัว ตู้กับข้าว ตู้เก็บอาหาร โรงครัว และสิ่งของที่ใช้ในการทำอาหาร ทำครัว ทุกชนิด
  2. ปานํ = น้ำดื่ม คือ น้ำขวด ภาชนะใส่น้ำ แก้วน้ำ เหยือกน้ำ กระติก โอ่ง แท๊งค์น้ำ น้ำหวาน เครื่องดื่ม น้ำผลไม้กระป๋อง หรือแม้กระทั่งขุดสระน้ำ ซื้อเครื่องกรองน้ำ เครื่องสูบน้ำ ต่อน้ำประปาเข้าวัด ถวายค่าน้ำประปา และสิ่งของที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม หรือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทุกชนิดที่พระดื่มฉันได้
  3. วตฺถํ = ผ้า คือ ผ้าไตรจีวร ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ตู้ใส่ผ้า ราวตากผ้า เครื่องซักผ้า จักรเย็บผ้า เข็ม ด้าย ผงซักฟอก และสิ่งของที่ใช้ผลิตหรือเก็บรักษาผ้า
  4. ยานํ = ยานพาหนะ คือ ร่ม รองเท้า ไฟฉายส่องทาง เรือ รถยนต์ ตั๋วรถยนต์-รถไฟ-เครื่องบิน จัดรถรับส่ง ถวายความสะดวกในการเดินทาง และเครื่องใช้ในการเดินทางทุกชนิด
  5. มาลา = ดอกไม้ คือ พวงมาลัยดอกไม้ แจกัน พานพุ่ม โต๊ะบูชา ประดับตกแต่งให้สวยงามน่าเคารพบูชา
  6. คนฺธํ = ของหอม คือ ธูป กำยาน น้ำอบไทย (ไม่ใช่เครื่องสำอางค์) ใช้จุดในที่บูชา หรือประพรมให้ชื่นใจ
  7. วิเลปนํ = เครื่องลูบไล้ ที่ไม่ใช่เครื่องสำอางค์ คือ แป้งเย็น สบู่ ยาสีฟัน ดินสอพอง ทำให้สบายตัว
  8. เสยฺยา = เครื่องนอน คือ เสื่อ ผ้าปูนอน ผ้าปูนั่ง ผ้าเต๊นท์ ผ้าใบกันน้ำค้าง กลด หมอน มุ้ง เตียง ห้องนอน เบาะที่นอน
  9. อาวสถํ = ที่พักอาศัย คือ ศาลาริมทาง ที่นั่งใต้ร่มไม้ กุฏิ ศาลา อาคาร ที่อยู่อาศัย, หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง โอสถํ = ยา คือ การช่วยรักษาพยาบาล หายาสามัญมาถวายใส่ตู้ยาไว้ดูแลพระสงฆ์ป่วย สร้างโรงพยาบาลสงฆ์
  10. ปทีเปยฺยํ = เครื่องให้แสงสว่าง คือ ตะเกียง น้ำมัน เทียน ไฟฉาย เครื่องปั่นไฟ อุปกรณ์ หลอดไฟ สายไฟ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุง ค่าแรงช่างไฟ

ควรถวายปัจจัยเป็นเงินแก่พระสงฆ์หรือไม่

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนก็สามารถถวายได้ เนื่องจากในปัจจุบันต้องยอมรับว่าพระสงฆ์เองก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต เช่น ที่วัดจะต้องมีการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ มีการทำนุบำรุง ซ่อมแซมสถานที่ ซื้อปุ๋ย ซื้อดิน ซื้อสิ่งที่ขาดแคลน หรือ แม้แต่การใช้จ่ายส่วนตัวในเรื่องของการเดินทาง มีค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายยามจำเป็นเมื่อต้องใช้แบบฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาล หรือแม่แต่การดูแลบิดามารดา ผู้มีพระคุณ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ให้และผู้รับด้วย

ร่วมสนับสนุนเรา เช่นเดียวกับลูกค้าท่านอื่น
กว่า 49,000 คน

ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร

คำว่าสังฆทาน มาจากภาษาบาลี “สังฆะ” หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ “ทาน”

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้ทานด้วยจิต และเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการถวายทานเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้จัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือให้คณะพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monk Offering หรือ Making Offering to Monk จึงหมายถึง ทานที่ตั้งใจถวายแก่ผู้แทนของหมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง (หากถวายโดยระบุเฉพาะ เรียกว่า ปาฎิปุคลิกทาน) โดยเชื่อว่าการถวายสังฆทานจะได้รับอานิสงส์มากเพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงการกระทำด้วยศรัทธา

ดังนั้น การให้ทาน หรือถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทุกประเภทที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เช่น ส่งเสริมการศึกษา การทำบุญรูปแบบใดก็ได้ ไม่ต้องห่อ หรือใส่ถึงเหลือง ก็ถือเป็นสังฆทานได้ ซึ่งสามารถทำได้ตลอด ไม่ต้องรอโอกาส หรือ เทศกาล รวมถึงการตักบาตรพระสงฆ์ก็ถือเป็นสังฆทานได้เช่นกัน

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

ของที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ นั้นคือปัจจัย 4 อะไรก็ได้ที่เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ โดยผู้จะทำบุญจะต้องมีความตั้งใจในการทำบุญ (ปุพพเจตนา) จึงควรต้องพิจารณาเลือกสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ ซึ่งควรเป็นของที่มีคุณภาพ สามารถใช้ได้จริง หรือเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำเอง หรือ ซื้อหาจากแหล่งต่างๆแบบสำเร็จรูป เช่น ถังเหลือง หรือสามารถจัดของถวายสังฆทานด้วยตัวเองก็ได้ และควรถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล (มุญฺจเจตนา) และเมื่อถวายแล้วกำให้ทำจิตใจเป็นบุญ ให้ยินดีการการทำบุญ ไม่เกิดความเสียดาย (อปราปรเจตนา)

สังฆทานทำเอง คือ การเลือก และจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องไทยธรรม รวมถึงจตุปัจจัยต่างๆที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ด้วยตัวเอง ไม่ได้หาซื้อในลักษณะชุดสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้แล้ว ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือ ห้างร้านต่างๆ โดยสิ่งของทั่วไปที่นิยมนำไปถวายพระสงฆ์ ควรเลือกให้เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ตามวัดที่จะไปทำบุญ โดยการเลือกของถวายพระสงฆ์ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ และคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ควรคำนึงแต่จะถวายให้ได้จำนวนหรือปริมาณมากๆ หรือต้องการถวายพระให้ได้หลายๆรูปและไปลดคุณภาพของสังฆทานลง และควรทำตามกำลังทรัพย์ ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ตัวอย่าง เครื่องไทยธรรมที่นิยมจัดหาไปถวายพระสงฆ์ เช่น

  1. อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องเรียน ซึ่งจะเหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องเรียนพระปริยัตธรรม
  2. มีดโกน และใบมีด สำหรับโกนศีรษะ และมีดโกนหนวด
  3. น้ำยาซักผ้า และผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอดีที่จะนุ่งห่มได้ และเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม เช่น ผ้ามัสลิน
  4. หนังสือธรรมะ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ
  5. รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์
  6. ยาสมุนไพรต่างๆ และยาสามัญประจำบ้าน
  7. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  8. สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ หรือ แม้แต่เครื่องมือช่างที่จะต้องใช้ซ่อมบำรุง เช่น ค้อน ไขควง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แปรงทำความสะอาด เป็นต้น
  9. น้ำปานะ เช่น ชาสมุนไพร
  10. แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร สำหรับพระสงฆ์

พระสงฆ์สามารถใช้สบู่ และยาสระผมได้ แม้อาจจะถูกจัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระสงฆ์สามารถไช้สบู่ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย และใช้ยาสระผม(แชมพู) เพื่อเอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากพระสงฆ์ไม่มีเส้นผมมาปกป้องหนังศีรษะ แชมพูที่ดีจะช่วยช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะไม่ให้เสียไป จึงช่วยลดการระคายเคืองจากความร้อน ฝุ่นละออง ลดการติดเชื้อ และโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ

หลังจากแจ้งพระสงฆ์ว่าจะถวายสังฆทานแล้ว ให้ปฎิบัติดังนี้

1.จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

2.พนมมือและกล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งนโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

3.กล่าวไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

4.สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

5.กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

6.กล่าวคำถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

7.ประเคนของที่นำมาให้พระสงฆ์

8.การกรวดน้ำ

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา อย่างไรก็ตามก็ควรดูกาละเทศะ ความเหมาะสมด้วย นอกจากนี้ หากนำของกินของขบเคี้ยวไปถวาย หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเช้า หรือเพล แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร

วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
ถวายสังฆทานแล้วหรือยัง

เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี

มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

เพื่อถวายพระสงฆ์

เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้

แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา

- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ

ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393

@solot