ขั้นตอนการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ และงานทำบุญ 100 วัน
วิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับนั้น ตามค่านิยม ประเพณี และความเชื่อทางศาสนา สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น การแผ่เมตตา การกรวดน้ำ(จะใช้น้ำหรือไม่ใช้น้ำก็ได้) ภายหลังจากการสวดมนต์ การปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิ การทำบุญตักบาตร การถวายสังฆทาน นอกจากนี้การทำความดีใดๆก็ตามทั้งคิดดี พูดดี ทำดี ย่อมเกิดบุญเช่นกัน ดังนั้นเราก็สามารถแผ่บุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับได้ทั้งนั้น และในวันนี้ทางโสฬส จึงขอรวบรวมเนื้อหาต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องทำบุญอุทิศส่วนกุศลตามประเพณีนิยม และวิธีปฎิบัติทางศาสนามาฝากกันครับ
การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ คืออะไร
เมื่อเราได้ทำกรรมดี เกิดบุญ และมีจิตเจตนาคิดให้ผู้อื่นได้รับรู้บุญที่เราได้ทำมา เพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้ร่วมอนุโมทนา และมีส่วนรับรู้ และรับอานิสงส์ในบุญนั้น โดยจะมีพิธีกรรม หรือ ไม่มีพิธีกรรมก็ได้ แล้วแต่จริตและธรรมเนียมปฎิบัติที่ยึดถือ เช่น หากสวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วแผ่บุญ อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับโดยเอ่ยนาม (แบบไม่กรวดน้ำ) ก็ดี หรือ จะตักบาตร และกรวดน้ำเอ่ยนาม ผู้ล่วงลับก็ดี หรือตามประเพณีนิยมก็มักจะถวายสังฆทานอุทิศ พร้อมกล่าวคำถวายสังฆทาน เอ่ยนามถึงผู้ล่วงลับ
จะอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ จำเป็นต้องกรวดน้ำหรือไม่
หากเราตั้งจิตดีแล้ว เมื่อแผ่บุญไป ท่านเหล่านั้นก็ย่อมได้รับบุญ ตามความเห็นส่วนตัว การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับจะกรวดน้ำ หรือ ไม่กรวดน้ำก็ได้
จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล มีหลายท่านได้อธิบายไว้ดังนี้
- การกรวดน้ำ เป็นกิริยาที่แสดงถึงการสละ เป็นการให้ ใช้แทนการประเคนสิ่งของที่ถวายแก่พระสงฆ์
- ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันกับพระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข(ประธาน) การที่พระเจ้าพิมพิสารจะถวายวัด ซึ่งเป็นสิ่งของขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถยกประเคนขึ้น พระเจ้าพิมพิสารจึงใช้วิธีการเทน้ำ อันแสดงถึงการสละ เพื่อถวายวัดเวฬุวัน ดังนั้นการเทน้ำ หลั่งน้ำ จึงเป็นกิริยาอาการของการสละ การให้ประการหนึ่ง
การเทน้ำ(การกรวดน้ำ) จึงกลายเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสละ เป็นการให้บุญ (ที่เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นนามธรรม) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับให้ได้มาร่วมอนุโมทนาบุญ
- ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันกับพระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข(ประธาน) การที่พระเจ้าพิมพิสารจะถวายวัด ซึ่งเป็นสิ่งของขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถยกประเคนขึ้น พระเจ้าพิมพิสารจึงใช้วิธีการเทน้ำ อันแสดงถึงการสละ เพื่อถวายวัดเวฬุวัน ดังนั้นการเทน้ำ หลั่งน้ำ จึงเป็นกิริยาอาการของการสละ การให้ประการหนึ่ง
- ตามเหตุที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องเมตตาบารมี พระองค์ตรัสไว้ว่า “เธอจงมีเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เหมือนกับน้ำ น้ำย่อมไม่รังเกียจบุคคลใด เมื่อผู้ใดลงไปอาบ ก็ได้ความสุข ได้ความเย็นสบาย น้ำจึงไม่เลือกบุคคลใด ปรารถนาให้ผู้อื่นได้ความสุขทุกคน”
ดังนั้นการอุทิศส่วนกุศลด้วยน้ำ หรือ การกรวดน้ำนี้ก็เปรียบเหมือนเป็นการให้ท่านทั้งหลาย ทั้งที่เอ่ยนามก็ดี ไม่ได้เอ่ยนามก็ดี ที่สามารถรับรู้หรือล่วงรู้ได้ ได้มาอนุโมทนาบุญในกุศลที่ได้ทำ - เป็นกุศโลบายเพื่อให้จิตเกิดสมาธิ เกิดความตั้งใจ เพราในขณะที่เทน้ำ (กรวดน้ำ) ทำให้เกิดการจดจ่อเป็นสมาธิ เกิดจิตที่ตั้งมั่นได้ง่ายกว่า
ตามแก่นแท้แล้ว การอุทิศส่วนบุญให้ผู้ล่วงลับนั้น สำคัญที่เจตนาของผู้ที่อุทิศ ไม่ได้อยู่ที่การเทน้ำ และก็ไม่จำเป็นจะต้องมีคำกล่าวต่างๆ
คำถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ที่สิ้นชีวิต รวมถึงคำถวายผ้าไตรอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโนชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฎิคคันหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุ อาทีนัญจะ ญาตะกานัญจะ กาละกะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งมะตะกะภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ มะตะกะภัตตาหาร กับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้นด้วย และอุทิศแด่ผู้ล่วงลับไปแล้วมี…(เอ่ยชื่อ-นามสกุลผู้ตาย) เป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญฯ
บทกรวดน้ำ แผ่เมตตาให้ผู้ล่วงลับ
- อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข)
- อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข)
- อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข)
- อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
- อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
- อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
- อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ)
- อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติ ทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข)
บทสวดอุทิศส่วนกุศล ผู้ล่วงลับ
อิทัง ปุญญะ พะลัง
“ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในครั้งนี้ ขออุทิศ ส่วนบุญกุศลนี้ให้แก่……. ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนา พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด”
“ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพญายมราช ได้โปรดเมตตา เป็น สักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าได้เจ้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ด้วยเทอญ”
ทำบุญ 100 วัน คืออะไร
พิธีทำบุญ 100 วัน หมายถึง พิธีทำบุญที่จะจัดขึ้นให้กับผู้ล่วงลับหลังจากครบรอบวันตาย 100 วัน ถือเป็นพิธีทำบุญที่จัดขึ้นเพื่อที่ผู้มีชีวิตอยู่ ลูกหลาน และเครือญาติจะได้มีการนัดพบและทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ โดยพิธีทำบุญครบรอบวันตายนี้มักจะทำเมื่อผู้ล่วงลับเสียชีวิตครบ 7 วัน, 50 วัน และ 100 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ล่วงลับได้รับผลบุญและไปสู่สุคติ
โดยระยะเวลาตั้งแต่ช่วงที่เสียชีวิตจนกระทั่ง 100 วัน มีความสำคัญต่างๆตามความเชื่อดังนี้
ตั้งแต่เสียชีวิต จนถึงวันที่ 7 : เชื่อว่าใน 7 วันแรก ผู้ล่วงลับยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์
ตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 50 : เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้ล่วงลับกำลังรอคอยการพิพากษาจากพญายมราช
ตั้งแต่วันที่ 51 จนถึง 100 วัน : ช่วงที่ได้รับการพิพากษาว่าจะไปเกิดเป็นอะไร
ของถวายสังฆทานทำบุญ 100 วัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
เครื่องไทยธรรม หรือ จตุปัจจัยที่ใช้ในการถวายสังฆทาน นอกจากนิยมถวายผ้าไตรจีวร และปัจจัยทางโลกแล้ว ยังนิยมถวายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่พระสงฆ์สามารถนำใส่ย่ามพระกลับไปได้โดยไม่ลำบาก เช่น
- แชมพูสมุนไพร สบู่สมุนไพร สำหรับพระสงฆ์
- มีดโกน และใบมีด
- แปรงสีฟัน และยาสีฟัน
- สังฆทานยาสามัญประจำบ้าน
นอกจากนี้สามารถถวายสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆที่จำเป็นเพิ่มเติมแก่ทางวัดได้เช่น ไม้กวาด น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ แปรงขัดพื้น เป็นต้น
วิธีทำบุญ 100 วัน ทำอย่างไร
ในปัจจุบันนิยมจัดงานทำบุญ 100 วัน แบบวันเดียว (อาจจะแบ่งจัดเป็น 2 วัน ตามความสะดวกของเจ้าภาพก็ได้) โดยนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป มาสวดเจริญพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหาร และถวายสังฆทาน และอาจจะมีการแสดงธรรมเทศนา หรือไม่มีตามแต่เจ้าภาพ
ขั้นตอนการทำบุญ 100 วัน
ขั้นตอนในพิธีทำบุญครบรอบวันตายของผู้ล่วงลับ จะกระทำหลังจากพิธีสวดพระอภิธรรม และเมื่อใกล้จะครบกำหนดแล้ว ก็จะต้องดำเนินการดังนี้
- ติดต่อวัด และนิมนต์พระพระสงฆ์ตามกำหนดการ วันและเวลาที่ต้องการทำพิธี โดยนิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคี่ (หากเป็นงานบุญมงคล) ส่วนจะทำบุญที่วัดหรือบ้านก็ได้ แล้วแต่เจ้าภาพ
- กำหนดรายการอาหาร สำหรับถวายพระสงฆ์ และเลี้ยงรับรองแขกผู้ร่วมงาน (คำนึงถึงภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ รายการอาหาร และเครื่องดื่มให้พอเพียง)
- จัดเตรียมสถานที่ในการทำพิธีให้เรียบร้อย หากจัดที่วัดก็ใช้ศาลาวัด และอุปกรณ์ของทางวัด แต่หากจัดที่บ้านก็ควรเตรียมบริเวณให้พระสงฆ์นั่ง เตรียมโต๊ะหมู่บูชา อาสนะนั่งเทศน์ สายสิญจน์ ธูป เทียน บาตรพระ รวมถึงเตรียมเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ ที่กรวดน้ำ หรือสิ่งของอื่นๆที่จำเป็นที่ต้องใช้ในพิธีสงฆ์
- เตรียมการเดินทาง รถรับส่งพระสงฆ์ รวมถึงให้เผื่อระยะเวลาการเดินทางของพระสงฆ์ หากจัดที่บ้าน แต่หากจัดที่วัดก็ควรไปก่อนเวลา โดยปกติหากต้องการถวายเพลก็ควรเตรียมการทุกอย่างให้พร้อมประมาณ 10.30 น.
การทำบุญ 100 วัน นับอย่างไร หลักการนับวันทำบุญ 100 วัน
วิธีนับวันเสียชีวิตของผู้ล่วงลับ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เสียชีวิตเป็นวันที่แรก เช่น ถ้าเสียชีวิตวันจันทร์ ที่ 1 มกราคม ก็จะนับรวมวันจันทร์นี้เป็นวันที่ 1 เลย และนับวันต่อไปจนครบ 7 วัน โดยในกรณีนี้จะเป็นวันอาทิตย์ที่ 7 แต่บางครั้งก็อาจถือเอาวันจันทร์ที่ 8 เป็นวันทำบุญครบรอบ 7 วันก็ได้
ทำบุญ 100 วัน นิมนต์พระสงฆ์กี่รูป
ในการทำบุญที่เป็นงานมงคลตามธรรมเนียมปฏิบัติ นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป
สนับสนุนการสั่งสมบุญโดย โสฬส
สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส
“เวลาญาติโยม ตั้งใจนำสิ่งดีๆมาถวาย เมื่อพระสงฆ์ท่านได้รับแล้วก็ชื่นใจ สามารถนำมาใช้ได้จริง เกิดประโยชน์ ศรัทธาของท่านผู้นำมาถวาย ก็เกิดสัมฤทธิ์ผล”
โปรโมชั่นสำหรับ ถวายสังฆทาน ชุดละ 299 บาท
สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส
สบู่สมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น และผลิตเป็นก้อนแบบ Cold Process เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันสกัดจากผลปาล์ม, สารสกัดจากรากชะเอม, เสลดพังพอนตัวผู้, สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และวิตามินอี จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน
เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560
ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)
แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส
แชมพูสมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคือง อาการคัน ให้กับหนังศีรษะ ที่ใช้สมุนไพรจากกรรมวิธีสกัดเย็น เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, ว่านหางจระเข้, เมล็ดมะรุม, ใบบัวบก และวิตามินบี 5 จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะนอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะ
เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020
ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)