บุญคือความเชื่อคือปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แทบจะในทุกศาสนาเลยก็ว่าได้ และดูเหมือนบุญจะได้เชื่อมโยงเอาทุกสรรพสิ่งบนโลกไว้ด้วยกัน ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติก็ดี และที่มนุษย์สร้างขึ้นภาพหลังก็ตาม และโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต คือ คน สัดว์ และพืช เราอาจกล่าวได้ว่า บุญเมื่อเราเข้าใจและเชื่อแล้ว จะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม เราสร้างบุญโดยผ่านการทำทาน จากการให้และการแบ่งปัน การสละ บุญมีส่วนทำให้คนตั้งใจทำความดี ละเว้นความไม่ดีหรือความชั่ว ไม่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน

ความเป็นมาของสังฆทาน ได้ถูกเล่าต่อกันมาว่าเกิดจากการที่พระนางประชาบดี ต้องการที่จะถวายผ้าไตรจีวรแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระนางประชาบดี นำไปถวายแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์อื่น นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงได้เกิดการทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน

สังฆทาน คือ อะไร ?? เคยสงสัยกันบ้างมั๊ยคะ ว่า จริง ๆ แล้วความหมายที่แท้จริงของคำนี้ คือ อะไร ?? เราเกิดมาก็เห็น พ่อแม่ ปู่ย่า หรือ ตายาย เรียกกันแบบนี้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล, วันสำคัญ หรือ เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ท่านก็พาเราไปเข้าวัดทำบุญ และ มีการ “ถวายสังฆทาน” ใส่ในถังสีเหลืองให้กับพระ แล้วหลังจากนั้นพระก็ให้พรเป็นภาษาบาลี เมื่อพระกล่าวคำให้พรเสร็จเราก็ยกมือไหว้ และ กล่าวคำว่า “สาธุ” ** และ นั่นคือภาพในเยาว์วัยของใครหลาย ๆ คนรวมถึงตัวผู้เขียนด้วย…วันนี้ เรามาหาคำตอบกันคะ

สังฆทาน คืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร

สังฆทาน เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า

สังฆทาน ภาษาไทย

“ สังฆทาน” ตามสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ ๒๗ อธิบายไว้ว่า สังฆทาน หมายถึง ทานเพื่อสงฆ์ การถวายสิ่งของแก่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตามหลักพระพุทธศาสนาการถวายแบบนี้มีผลานิสงส์มากกว่าการถวายแบบจำเพาะเจาะจง เพราะเกิดจากเจตนาที่เป็นมหากุศล มุ่งให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมคำว่า “สังฆทาน” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ

“สังฆะ” นิยมใช้ทับศัพท์ว่า สงฆ์ แปลว่า หมู่ชุมนุมในพระวินัย คำว่า สงฆ์ ในคำว่า “สังฆทาน” หมายถึง องค์รวมของพระภิกษุหรือพระภิกษุณีที่ชุมนุมหรืออาศัยอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง การถวายสิ่งของแก่สงฆ์หรือเพื่อสงฆ์ หมายถึง การถวายให้เป็นของสงฆ์ที่พระภิกษุทุกรูปใช้ได้ โดยมีการแบ่งกันตามพระวินัย ถ้าผู้ถวายมีของถวายจำนวนจำกัด ให้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะถวายแก่สงฆ์เมื่อมีหรือพบพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ให้ถือว่าท่านเป็นผู้แทนของสงฆ์

“ทาน” แปลว่า การให้ หรือการถวาย เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเสียสละ ยอมยกหรือแบ่งสิ่งที่ตนมีให้แก่ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือ เพื่อบูชาคุณ หรือเพื่อสร้างสมคุณความดีให้มีเพิ่มขึ้น

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ คือ offering dedicated to Buddhist monks

  • offering : การเสนอ
  • dedicated : ซึ่งถวาย ซึ่งอุทิศ ซึ่่งมอบให้
  • Buddhist : ชาวพุทธ พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ ชาวพุทธ
  • monks : พระภิกษุสงฆ์
“สังฆทาน” ภาษาอังกฤษ เค้าใช้คำว่าอะไรกันบ้างนะ ??? เนื่องจากประเทศไทยมีวัดวาอารามอยู่มากมาย นอกจากจะเป็นที่ให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่สวยงาม อีกทั้งยังสื่อถึงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นในตัวอีกด้วย ทำให้วัดบางแห่งมีสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงามจึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ …และหากมีนักท่องเที่ยวสอบถาม ขณะที่มีผู้ศรัทธากำลังทำบุญด้วยการ “ถวายสังฆทาน “แด่พระภิกษุสงฆ์…สังฆทาน ในภาษาอังกฤษ คือ offering และ เวลาเราถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์เราใช้ คำว่า “ give the offering dedicated to the (Buddhist) monks“ เวลาชาวต่างชาติถามเราว่าทำอะไร ??? เราก็สามารถใช้ประโยคนี้ตอบได้เลยคะ

ดังนั้น คำว่าสังฆทาน แปลว่า การให้สิ่งของแก่สงฆ์ และการให้แก่สงฆ์ก็ควรจะให้สิ่งที่เหมาะกับสงฆ์ โดยพิจรณาจากวัตดุเครื่องใช้ที่จะถวายแด่สงฆ์ ซึ่งการถวายสังฆทานนั้นเป็นการถวายจตุปัจจัย โดยไม่เฉพาะเจาะจงแด่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง จากนั้นพระสงฆ์ผู้รับ จะนำสิ่งที่ได้รับไปให้กองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ การถวายสังฆทานอาจจะทำกับพระสงฆ์ที่เป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ หรือ กระทำโดยอาราธนาพระสงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ดังนี้

การถวายสังฆทาน ในทางพุทธศาสนา จำแนกได้ 2 แบบ

1. อารธนาถวายพระสงฆ์ 1 รูป ซึ่งเรียกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน และ การถวายพระสงฆ์ 2-3 รูป เรียกว่า คณะทาน ซึ่งสามารถทำสังฆทานได้ แต่จะต้องมีการถวายชุดสังฆทานเผื่อพระสงฆ์องค์อื่นๆในวัดไปด้วย

2. อารธนาถวายพระสงฆ์ 4 รูปขึ้นไป เรียกว่า สังฆทาน ซึ่งการทำสังฆทานโดยพระ 4 รูปนั้นท่านจะต้องได้รับการอนุมัติจากพระสงฆ์ทั้ง 4 รูป ถือเป็นคณะที่มีอำนาจในการทำ สังฆกรรม

วัตถุเครื่องใช้ ที่เหมาะสมจำเป็นสำหรับสงฆ์ หรือปัจจัย 4 ได้แก่

  1. จีวร เครื่องนุ่งห่ม เช่น ผ้าอาบน้ำฝน ถือเป็นของใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์ การซื้อสังฆทานสำเร็จรูปบางครั้งเราไม่อาจตรวจสอบได้ว่าผ้าอาบน้ำฝนที่อยู่ภายในนั้นเป็นอย่างไร จึงมีบ่อยครั้งที่เมื่อถวายไปแล้วมารู้ภายหลังว่าผ้าทั้งบางและสั้น พระสงฆ์ไม่สามารถใช้อาบน้ำได้ ทางที่ดีหากมีเวลาและตั้งใจทำสังฆทานอย่างแท้จริง ควรเลือกซื้อจากร้านสังฆภัณฑ์ที่ไว้ใจได้และมีมาตรฐาน
  2. อาหารบิณฑบาต สามารถนำอาหารมาถวายเป็นสังฆทานได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผัก ผลไม้ต่างๆ น้ำดื่ม น้ำผลไม้ หรือน้ำปานะ รวมถึงอาหารกระป๋อง อาหารแห้งต่างๆ ก็ถวายได้ เพราะพระสงฆ์สามารถฉันเพื่อบำรุงร่างกายเป็นกำลังในการทำงานเพื่อศาสนา
  3. เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา รวมถึงที่นอนและที่นั่งและเครื่องใช้ เกี่ยวกับสถานที่หรือสิ่งที่ใช้ในการพำนัก) รวมถึงเครื่องอุปโภค สิ่งของอื่นๆที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์หรือสามเณร ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไว้ใช้จดนัดหมายกิจนิมนต์ต่างๆ หรืออาจรวมถึงของใช้ส่วนตัวเช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ มีดโกน กาน้ำชา แชมพู สบู่ แม้แต่หนังสือสวดมนต์ ก็เป็นสิ่งที่พระสงค์จะได้ใช้ประโยชน์อย่างแน่นอน
  4. ยารักษาโรค ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้านต่างๆ เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ สิ่งเหล่านี้พระสงค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางตรงและทางอ้อม เช่น การให้ทานส่งต่อแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก

ต่อมาอาจมีการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อาทิเช่น น้ำ น้ำผลไม้ มีดโกน สบู่ ยาสีฟัน พงซักฟอก น้ำยาทำความส่วนสะอาดต่างๆ ข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ทำความสะอาด หรือเครื่องมือช่างเพื่อการซ่อมแซมภายในวัด

อย่างไรก็ตาม การจัดเครื่องไทยธรรม เพื่อถวายสังฆทานพระสงฆ์ ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดแก่พระสงฆ์ผู้รับเป็นสำคัญ และสิ่งของนั้นควรจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อกิจวัตรของพระสงฆ์ หรือ หากทางวัดขาดสิ่งใดก็ควรถวายสิ่งนั้น เพื่อที่ทางวัดจะได้นำไปใช้ประโยชน์

ขั้นตอนการถวายสังฆทาน

ขั้นตอนการถวายสังฆทาน และถวายสังฆทานที่ถูกต้อง

1. จัดเตรียมเครื่องไทยธรรม หรือ สิ่งที่จะนำไปถวาย ใส่ภาชนะตามความเหมาะสม ตามกำลังทรัพย์ โดยพิจารณาแล้วว่าสามารถเกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ หรือ วัดที่จะนำไป

2. เมื่อเลือกวัดที่ต้องการไปถวายสังฆทานแล้ว เมื่อไปถึงให้แจ้งความประสงค์ต่อพระสงฆ์ที่นั่นว่า ต้องการมาถวายสังฆทาน เพื่อทางวัดจะได้แจ้งรายละเอียดที่ควรทราบ และจัดเตรียมการหรือ แจ้งให้ไปยังบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อรับสังฆทาน

3. เมื่อเริ่มพิธี ให้จุดธูป เทียน บูชาพระ (ถ้ามี) พร้อมกราบสามครั้ง และ เข้าสู่ขั้นตอนการ อาราธนาศีล รับศีล

4. เมื่อรับศีลจบเรียบร้อยแล้ว ให้ท่องนะโม 3 จบ ต่อด้วย “คำถวายสังฆทานสามัญ

“ อิมานิ มะยัง ภันเต , ภัตตานิ , สะปะริวารานิ , ภิกขุสังฆัสสะ , โอโณชะยามะ , สาธุ โน ภันเต , ภิกขุสังโฆ , อิมานิ , ภัตตานิ , สะปะริวารานิ , ปะฏิคคัณหาตุ , อัมหากัง , ทีฆะรัตตัง , หิตายะ , สุขายะ ”

“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร พร้อมด้วยเครื่องบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหาร พร้อมด้วย เครื่องบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญฯ”

นอกจากนี้ภายหลัง ยังมีคำถวายสังฆทานวันเกิด หรือ คำกล่าวถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับ เพิ่มเข้ามาตามเจตนาของผู้ถวายอีกด้วย

5. เมื่อกล่าวจบ ผู้ถวายประเคนเครื่องสังฆทานแด่พระสงฆ์

6. เมื่อรับประเคนเสร็จ พระท่านจะกล่าวอนุโมทนา จากนั้น ผู้ถวายกรวดน้ำ เมื่อเสร็จพิธีก็กราบ 3 ครั้ง ลาพระสงฆ์ และนำน้ำที่กรวด รดลงดิน เป็นอันเสร็จพิธี

ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทานซึ่งถือว่าได้บุญมากนั้น ควรถวายด้วยความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของสังฆทานว่า ที่แท้นั้นต้องถวายเพื่อมุ่งอุปถัมภ์สงฆ์ (ทั้งปวง) เพื่อให้สงฆ์นั้นอุปถัมภ์ธรรม ไม่ใช่ทานที่ถวายเพื่อมุ่งสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา “ตนเอง” เป็นที่ตั้ง

ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน เกิดขึ้นกับ 2 ฝ่าย คือ ผู้รับ อันได้แก่ ภิกษุสงฆ์หรือสามเณร และ ผู้ให้หรือผู้ถวาย อันได้แก่ ชาวพุทศาสนิกชน

1. ประโยชน์ของการถวายสังฆทานในส่วนของผู้รับ หรือ ภิกษุสงฆ์

ภิกษุ แปลว่าผู้ขอ ผู้สละโลก แสวงหาหนทางดับทุกข์ มากกว่าเรื่องทำมาหาเลี้ยงชีพ แย่งชิง เบียดเบียน ค้ากำไร และในพระไตรปิฎกยังได้ระบุไว้ว่า เมื่อบวชแล้วต้องทำ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ละกิเลส อย่าเป็นหนี้ก้อนข้าวชาวบ้าน จะเป็นบาป ประโยชน์ที่ภิกษุสงฆ์พึงกระทำเมื่อครองสมนะเพศ ได้แก่

– คันถธุระ คือ ศึกษาพระธรรม

– วิปัสสนาธุระ คือ ปฎิบัติให้พ้นทุกข์

ภิกษุสงฆ์ต้องไม่มี ไม่ให้ความสำคัญในธุระอื่นนอกเหนือจาก 2 เรื่องนี้ และยังมีข้อกำหนดอธิบายแยกย่อยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงบทบาทและหน้าที่หลักที่สำคัญ 4 ประการ ของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อการเผยแผ่และสืบทอดพระศาสนา อันเป็นเรื่องต้องพึงปฏิบัติและระลึกไว้เสมอ เมื่อยังครองผ้าเหลืองเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ได้แก่

  • หน้าที่ในการศึกษาธรรม
  • หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม
  • หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม
  • หน้าที่ในการรักษาธรรม

จะเห็นได้ชัดเจนว่า พระสงฆ์มีจุดประสงค์ของการดำเนินชีวิตและเป้าหมายที่ต่างออกไป ไม่ใช่ผู้ที่จะลงมือทำมาหาเลี้ยงชีพแบบบุคคลทั่วไปได้ โดยถ้าเพ่งในแง่ประโยชน์ส่วนที่ว่าด้วยข้อธรรมทั้งหลายของพระสงฆ์ตามนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ มิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตนแต่ประการใด ดังนั้น เราจึงควรอุปถัมภ์บำรุงสงฆ์ โดยเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่ปัจจัย 4 เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค ข้าวของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้ง หรือผ้าไตรจีวร แด่พระสงฆ์หรือสามเณร เพื่อท่านไม่ขัดสนทางด้านวัตถุ แล้วใช้เวลาที่มีเพื่อการศึกษาเล่าเรียน เผยแผ่ และสืบถอดศาสนา สังฆทานจึงเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาผ่าน เพื่อให้ศาสนายั่งยืนสืบต่อ แล้วกลับมาเป็นประโยชน์ต่อเราและส่วนรวม จากากรผู้เป็นผู้ให้

2 ในส่วนของ พุทธศาสนิกชน ประโยชน์ของการถวายสังฆทานว่ากันทางด้านความเชื่อและจิตใจ เป็นอย่างไร ทำไมเราถึงต้องทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และ การถวายสังฆทานมีประโยชน์ หรือ มีอานิสงส์อย่างไร

  • ให้ทานโดยศรัทธา คือ คนดีทั้งหลายนั้นย่อมให้ทานเพราะเชื่อกรรม และผล ของกรรมว่ามีจริงจึงให้ ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อมใส
  • ให้ทานโดยเคารพ คือ ให้ด้วยกิริยาที่เคารพ นอบน้อม ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส และคนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เคารพเชื่อฟัง
  • ให้ทานตามกาลอันควร ให้แล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อม เป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล คือ เป็นผู้มีทรัพย์มาตั้งแต่วัยเด็ก สามารถจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในขณะที่ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง สติปัญญาเฉียบแหลม ไม่ใช่ได้ทรัพย์มาเมื่อหมดกำลังกายและกำลังปัญญาจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว

มีความเชื่อว่า การทำบุญหรือการถวายสังฆทาน มีส่วนช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ เพราะ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก ทำให้เจ้ากรรมนายเวรละเว้นหรือออกห่างจากผู้ถวายนั้นๆ จะเจริญสำเร็จในหน้าที่การงาน ผ่อนกรรมหนักให้เป็นเบา ปัดเป่าเรื่องร้ายใหนชีวิตที่ประสพอยู่ให้จางหาย หรือผ่านไปด้วยดี จากนั้นจะเจริญทั้ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ โภคสมบัติ ปัญญาสมบัติ บริวารสมบัติ มีกิจการเจริญรุ่งเรือง เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญการเงิน สิ่งต่างๆที่ที่ติดขัดที่ทำให้ทุกข์ก็จะคลี่คลาย ไปในที่สุด อีกนัยหนึ่งคือได้รับความสบายใจนั่นเอง และยังมีคำสอนที่ปรากฏให้ได้เห็นได้ยินอีกมากมาย อาทิเช่น ข้อความตอนหนึ่งในโอกาสแสดงธรรมเทศนา ของพระราชพรหมยาน (วีระ ถาโร) ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เจ้าอาวาสวัดจันทราราม (วัดท่าซุง) ท่านได้เมตตาให้คำสอนแก่ลูกศิษย์ถึงประโยชน์ของการถวายสังฆทาน ไว้ว่า

“ ตามอานิสงส์ที่ได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทได้ทำการถวายสังฆทานแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อต้องตายจากความเป็นคน และได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า จะได้ไปปรากฏอยู่บนสวรรค์ชั้นที่ 5 ที่มีนามว่านิมมานรดี และถ้าต้องกลับลงมาเกิดเป็นคนใหม่อีกครั้ง องค์สมเด็จพระจอมไตรพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ทรงตรัสไว้ว่า เขาผู้นั้นถ้าเกิดเป็นคนกี่ชาติก็ตาม จะไม่ยอมมีความยากจนเข็ญใจ ในสถานที่ใดก็ตามที่ประกอบด้วยความทุกข์ไม่มีความสุข ขัดข้องไปด้วยลาภทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคยถวายสังฆทานแล้วจะไม่เกิดในที่นั่น “

การทำบุญจัดเป็นค่านิยมในจิตใจของชาวพุทธ การตักบาตร การทอดกฐิน การฟังธรรม การรักษาศีล การถวายสังฆทาน ล้วนเป็นค่านิยมทางศาสนาของชาวพุทธที่ให้ผลดี ต่อสภาพจิตใจและสภาพแวดล้อม ทำให้ชีวิตมีความสุข และมีแรงขับเคลื่อนต่อไปในอนาคตอย่างมีความหวัง ทำให้จิตใจผ่องใส อารมณ์ดี ซึ่งจะส่งผลกระทบดีๆไปยังคนรอบข้างใกล้ตัวและอาจแผ่ขยายออกไปได้เรื่อย ๆ

ความเชื่อที่สอนให้สร้างบุญด้วยการทำทานนี้ เมื่อทำแล้วจะก่อให้จะเกิดความปิติสุขขึ้นในใจ ความปิติที่เกิดขึ้นนี้ เราสามารถบอกได้ว่า บุญเกิดขึ้นแล้ว (ในใจ) ซึ่งจับต้องได้ด้วยสติ (รู้หนอ) ในความรู้สึกใด้ทันทีที่กระทำ ในทางกลับกัน บุญอาจจะไม่ได้สร้าง ผลลัพธ์ที่ดีให้กับผู้กระทำ ถ้าหากผู้นั้นยังมีความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำบุญมากพอก็เป็นได้

ประโยชน์ที่ได้จากการถวายสังฆทาน จึงเกิดทั้งทางตรงและทางอ้อม บังเกิดประโยชน์ทางตรงจากการที่พระสงฆ์นำของจากการถวายไปใช้ ประโยชน์ทางอ้อมคือความสุขใจ เบิกบานใจของผู้ถวาย ทั้งนี้การทำบุญที่ดีควรทำตามกำลังที่เรามี เมื่อทำไปแล้วตัวเองต้องไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเอง

ท้ายที่สุด จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน แด่พระสงฆ์ แท้จริงคือการทะนุบำรุงศาสนาที่เป็นเครื่องจรรโลงจิตใจ สืบต่อและเผยแผ่ธรรมมะหรือคำสอน ที่สอนให้เราชาวพุทธศาสนิกชน อยู่ในศีลในธรรม ไม่กระทำผิดต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน สอนให้คนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ให้มีสติอยู่เสมอๆและเดินไปในทางที่ถูกที่ควร ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท และรักษาตนให้พ้นภัย ช่วยทำให้สังคมรอบตัว และประเทศชาติมีความสงบสุข เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

สนับสนุนโดย

สบู่สมุนไพร & แชมพูสมุนไพร ตราโสฬส

สำหรับ ถวายสังฆทาน

โสฬส (อ่านว่า โส-ลด) หมายถึง พรหมโลก 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพชั้นรูปพรหม ถือกันว่าเป็นที่อันบรมสุข

สบู่สมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน

เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

แชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย

เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

สบู่ & แชมพู สมุนไพร
ที่เหมาะกับกิจวัตรของสงฆ์

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะ ของพระภิกษุสงฆ์จากอาการผิวแห้ง และอาการคัน เหมาะกับกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดด และสัมผัสกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ

“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”

วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
ถวายสังฆทาน

เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี

มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

เพื่อถวายพระสงฆ์

เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้

ร่วมสนับสนุนเรา เช่นเดียวกับลูกค้าท่านอื่น
กว่า 49,000 คน

ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”

“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ

การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร

1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย

2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก

แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา

– ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
– ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
– ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ

ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393