โสฬส - ใส่ใจการผลิต
ผลิตภัณฑ์ “โสฬส” ใส่ใจคุณภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มกระบวนการผลิต เพราะเราจะทำการตรวจสอบปริมาณสารสำคัญของวัตถุดิบแต่ละชนิดให้เป็นไปตามข้อกำหนดก่อนนำมาผลิตเป็นสินค้า และเมื่อได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามต้องการแล้วจึงค่อยนำมาผลิต จากนั้นในระหว่างขั้นตอนการผลิต ก็จะมีการสุ่มตรวจอีกทุกๆ 10 นาที จนเมื่อผลิตเสร็จแล้ว เราก็จะทำการตรวจสอบคุณภาพซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าสบู่ทุกๆก้อน และ ทุกๆหยดของแชมพู ที่นำมาจำหน่าย จะมีคุณภาพมาตรฐานตามสากล ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถวางใจได้ในประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส สรรค์สร้างคุณค่าเพื่อการทำความสะอาดร่างกาย ช่วยปกป้องผิว เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง และมีความอ่อนโยนต่อผิว
ส่วนประกอบสำคัญ :
COCOS NUCIFERA OIL หรือ น้ำมันมะพร้าว (สกัดเย็น) เราใช้น้ำมันมะพร้าวที่สกัดมาด้วยวิธี Cold Pressed ไม่ใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต เพื่อคงคุณค่าและสารสำคัญไว้ และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน น้ำมันมะพร้าวจะมีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมทั้งความแข็ง การเกิดฟองและการทำความสะอาด โดยในน้ำมันมะพร้าวจะมีวิตามินอีที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ และคอยปกป้องผิวชั้นนอกจากแสงแดดที่ทำร้ายผิวได้ นอกจากนี้ในน้ำมันมะพร้าวยังมีสารมอโนลอรินที่ช่วยลดอาการอักเสบ การติดเชื้อ และลดการสะสมของแบคทีเรียอีกด้วย ELAEIS
GUINEENSIS KERNEL OIL คือน้ำมันที่สกัดจากผลปาล์ม จะเข้ามาช่วยทำให้สบู่มีความแข็งขึ้นโดยไม่ต้องใส่น้ำมันมะพร้าวมากเกินไป และทำให้ความสามารถในการละลายน้ำลดลง ดังนั้นสบู่ก็จะใช้ได้นานขึ้น และยังทำให้มีสบู่สมุนไพรมีฟอง และสามารถใช้ได้กับน้ำในทุกสภาพไม่ว่าจะเป็นน้ำอ่อน หรือ น้ำกระด้าง (น้ำบาดาล น้ำประปา ก็ใช้ได้)
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT POWDER หรือ สารสกัดจาก รากชะเอม จะมีสารสำคัญได้แก่ Glabridin ที่มีคุณสมบัติในการขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ข่วยลดการอักเสบ ลดผลกระทบจากรังสี UV ที่จะไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสี รวมถึงลดรอยแดง ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสลดเลือนจุดด่างดำ ฝ้า กระ BARLERIA LUPULINA EXTRACT หรือ เสลดพังพอนตัวผู้ จะมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดบวม แก้พิษจากสัตว์พิษ เช่น ตะขาบ แมงป่อง และสัตว์พิษอื่นๆ
ANDROGRAPHIS PANICULATA LEAF EXTRACT หรือ สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านแบคทีเรีย
TOCOPHERYL ACETATE หรือ วิตามินอี และอนุพันธ์ของวิตามินอี ที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ชี้ให้เห็นว่า วิตามินอี ช่วยลดอาการผื่นแดง และสะเก็ดเงิน รวมถึงช่วยลดการเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง
วิธีใช้ : ลูบไล้ให้เกิดฟองบนมือที่เปียก จากนั้นลูบไล้ฟองให้ทั่วผิวหน้าและผิวกายที่เปียก แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เป็นประจำทุกวัน เช้าและเย็น
คำเตือน : ระวังอย่าให้เข้าตา หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด
เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560
ปริมาณสุทธิ 100 กรัม
ด้วยภูมิปัญญาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ สมุนไพรได้ถูกค้นพบเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งทางด้านเป็นยารักษาโรคและเครื่องประทินความงาม ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายจึงได้มีการนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ในการทำสบู่ที่ให้สรรพคุณที่่นอกเหนือจากการทำความสะอาดร่างกายแล้วยังช่วยบำบัดรักษา และดูแลผิวได้ดียิ่งขึ้น เรามาทำความรู้จักสมุนไพร 10 ชนิดที่นิยมนำมาทำสบู่กันเถอะ
สมุนไพรไทย 10 ชนิดที่นิยมนำมาทำสบู่
1. ชะเอมเทศ (Licorice, Chinese licorice, Russian licorice, Spanish licorice)
สารสกัดชะเอมเทศมีสารสำคัญ คือ สารลิควิริทิน (Liquiritin) และ สารกลาบริดิน (Glabridin) ซึ่งมีคุณ สรรพคุณต่อผิว คือ ช่วยปรับสีผิวให้ดูสว่างขึ้นได้ สารลิโคชาลโคน เอ (Licochalcone A) ที่สกัดได้จากชะเอมเทศจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่เพิ่มปริมาณเม็ดสีเมลานินมากเกินไป จนทำให้ผิวคล้ำ ส่วนสารลิควิริทินในชะเอมเทศก็ช่วยปรับผิวขาวได้ด้วยการกระจายเม็ดสีเมลานิน สารนี้มีฤทธิ์ป้องกันผิวคล้ำจากรังสี UVB และช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวคล้ำจากเม็ดสีที่มากเกินไปได้ เหมาะสำหรับผู้ต้องการลดจุดด่างดำ ฝ้า กระ รอยดำจากสิว อย่างปลอดภัย พร้อมกันนี้สารสกัดชะเอมเทศยังช่วยดูดซับรังสี UV ได้อีกด้วย ผิวจึงทนต่อรังสีและมลภาวะต่าง ๆ ได้ดี ผิวจึงไม่ถูกแสงแดดทำร้าย และ มีคุณสมบัติลดการระคายเคือง หากผิวไปถูกแดด มลภาวะหรือสิ่งรบกวนอื่น ๆ
2. เสลดพังพอน (Hop Headed Barleria, Hophead, Porcupine flower, Philippine violet)
สารสำคัญในใบเสลดพังพอนพบสารหลายชนิด เช่น Acetylbarlerin, Barlerin, Bataine, Scutellarein-7-Rhamnosyl glucoside, Shanzhiside methyl ester เป็นต้น ในส่วนของใบและก้านมีสารประกอบพวก iridoid glycosides มีสรรพคุณต่อผิว คือช่วย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้ไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคเริม แก้เริมบริเวณผิวหนัง งูสวัด ช่วยถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฝีที่ฝ่ามือ แก้แผลกลาย เป็นยาถอนพิษ แก้พิษงูกัด พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แมงป่อง ตะขาบ ผึ้ง ช่วยถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ช่วยรักษาแผลฟกช้ำจากการกระทบกระแทก แผลสุนัขกัด แผลจากของมีคมบาด หรือแผลมีเลือดออก (ช่วยห้ามเลือด) ช่วยแก้ปวดแผล แก้อาการปวดจากปลาดุกแทง รวมไปถึงแก้พิษจากไฟลวก น้ำร้อนลวก แก้ยุงกัด แก้ฝีหนอง และแก้โรคฝีต่าง ๆ
3. ฟ้าทะลายโจร (Kariyat)
สารสำคัญในฟ้าทะลายโจร คือ สารกลุ่ม Lactone เช่น สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neoandrographolide) ดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide) และดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide) สรรพคุณต่อผิว คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เชื้อแบคทีเรีย และ ไวรัส ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
4. ขมิ้นชั้น (Turmeric)
สารสำคัญในขมิ้นชัน คือ สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) สรรพคุณต่อผิว คือ มีฤทธิ์ต้านน้ำเหลืองเสีย ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้นช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
5. ไพล (Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root)
สารสำคัญในไพล คือสารในกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ (Curcuminoids) สรรพคุณต่อผิว คือ ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวขาว ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ ส่วนเหง้า จัดว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุดของไพล เพราะสามารถนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งนำมาเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ หรือนำมาฝนเพื่อใช้สมานแผล แก้ฟกช้ำ ปวด บวม เหน็บชา เส้นตึง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ โรคผิวหนัง แก้ฝี ดูดหนอง
6. ว่านหางจระเข้ (Aloe vera)
สารสำคัญในว่านหางจระเข้ ในการออกฤทธิ์สมานแผล คือ aloctin A และ aloctin B (1, 2) สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ aloctin A, veracylglucan B และ C และ bradykininase (3-11) มีสรรพคุณ ต่อผิว คือ ช่วยแก้อาการแพ้ และรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ช่วยขจัด และ ป้องกัน รอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น
7. มะขาม (Tamarind)
มีสารสำคัญอย่างเช่น กรด AHA (Alpha hydroxyl acids) ในเนื้อมะขาม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดเลือนริ้วรอย และกำจัดเอาเซลล์ผิวเสื่อมสภาพให้หลุดลอกออกไป กระตุ้นการเกิดเซลล์ผิวใหม่ที่มีความขาวและเนียนนุ่มมากกว่า ทำหน้าที่ตรงเข้าผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วให้หลุดลอกก่อนที่มันจะแปรสภาพไปเป็นขี้ไคล
8. มังคุด (Mangosteen)
สารสำคัญที่พบในเปลือกมังคุด คือ สารกลุ่มพรีนิลเลท แซนโธน พบในส่วนที่เป็นน้ำยางสีเหลืองเขียวซึ่งอยู่ภายในท่อน้ำยางในเปลือกมังคุด สารหลักของกลุ่มนี้ คือ แอลฟ่า-แมงโกสติน (alpha-Mangostin) และ เปลือกมังคุดด้านนอกที่เป็นเนื้อแข็งสีม่วง มีสารแอนโธไซยานิน สารหลักในกลุ่มนี้คือ ไซยานิดินไกลโคไซด์ (cyanidin glycosides) ส่วนเปลือกด้านใน มีสีชมพูอมม่วง ส่วนนี้มีสารประกอบกลุ่มฟีนอลิค หรือสารกลุ่มแทนนิน (tannins) เช่น โปรไซยานิดิน (procyanidins) อยู่มาก ทั้งสารกลุ่มแอนโธไซยานินและสารประกอบกลุ่มฟีนอลิค โดยทั้งสารกลุ่มแอนโธไซยานินและสารประกอบกลุ่มฟีนอลิค มีสรรพคุณต่อผิว คือ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและมีประสิทธิภาพช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะช่วยให้สิวอุดตันบนใบหน้าลดลง และทำลายเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกไปพร้อมกับกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจน
9. ใบบัวบก (Gotu kola)
สารสำคัญอย่างเช่น อะเซียติโคไซด์ (Asiaticoside) , กรดมาเดคาสสิก (Madecassic Acid) และ กรดอะเซียติก (Asiatic Acid) มีสรรพคุณต่อผิว คือ ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยแก้อาการฟกช้ำ รักษาโรคผิวหนังต่าง ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย และ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดีและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย
10. แตงกวา (Cucumber)
แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
ดังนั้นการเลือกใช้พืชสมุนไพรชนิดใดมาเป็นส่วนผสมนิยมเลือกใช้ตามสรรพคุณทาง ยาโดยดูจากสรรพคุณของสมุนไพรจากตำราหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น สารสกัดที่ได้จากสมุนไพรในธรรมชาติมีความปลอดภัยมากกว่ายาหรือสารสังเคราะห์ทางเคมี มีพิษตกค้างภายในสัตว์ทดลองน้อย อัตราการสลายตัวของสารเคมีที่มีในพืชสมุนไพรสลายตัวได้ดีกว่าสารเคมี สังเคราะห์
วิธีทำสบู่สมุนไพร “Cold-Process” จริงๆแล้วหมายถึงอะไร?
เนื่องจากผิวเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ที่คอยทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในที่บอบบาง แต่อย่างไรก็ตาม ผิวก็เหมือนประตูที่สามารถดูดซึมสารต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดได้เหมือนกัน ดังนั้นการใช้อะไรก็ตามกับผิวไม่ว่าจะช่วงสั้นๆ หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น อาการแพ้เครื่องสำอาง เป็นต้น
การเกิดสบู่เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า saponification ที่เกิดขึ้นระหว่างน้ำด่างกับไขมันหรือน้ำมัน (เช่นน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว) ซึ่งกระบวนการผลิตสบู่แบบเย็น (Cold-Process) จะปล่อยให้เกิดปฎิกิริยาอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป (อาจเรียกว่า “การบ่ม”) ซึ่งอาจจะใช้เวลานานถึง 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้ได้สบู่ที่ดี มีค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่าง กลับมาเป็นกลาง โดยไม่ใช้ความร้อนจากภายนอก
ด้วยวิธีที่ไม่ใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งปฎิกิริยานี้เอง จึงทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตด้วยวิธี Cold-Process นี้ ยังคงคุณภาพและมีสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุด …… แม้ว่าเราต้องใช้ความอดทน แต่เราคิดว่ามันคุ้มค่า!
ขั้นตอนการทำจะเริ่มจากการผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์ (น้ำด่าง) กับน้ำ ผสมกับน้ำมันหรือไขมัน และค่อยเพิ่มน้ำมันหอมระเหย หรือสารสกัดต่างๆลงไป จากนั้นจะเทลงในแม่พิมพ์และทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงเพื่อให้กลายเป็นสบู่ และเมื่อนำออกจากแม่พิมพ์ก็จะทิ้งไว้อีก 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะถูกนำมาทำให้เป็นสบู่แต่ละก้อน จากนั้นในอีก 4-6 สัปดาห์ข้างหน้าเมื่อปฎิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เราก็จะได้สบู่ที่พร้อมนำไปใช้ ทั้งนี้สบู่ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ นอกจากจะช่วยชำระล้าง ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้ว เราพบว่ามันยังช่วยคงความชุ่มชื้น และเหมาะกับสภาพผิวของเราได้ดีกว่าการผลิตด้วยกรรมวิธีใช้ความร้อน