ก่อนอื่น ว่าด้วยการซื้อของ วัตถุประสงค์หลักที่มีบทบาทในการซื้อเสมอ คือ ซื้ออะไร ให้หรือเพื่อใคร ในที่นี่ เรียกว่า ผู้รับ เช่น ซื้ออาหารเพื่อทานเอง หรือทั้งครอบครัว หรือซื้อเป็นของฝากให้ อาทิเช่น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง หรือ ชนชาติ ศาสนา และ อาจแยกย่อยอีกมากมาย ซึ่งรสชาติ รูปแบบ และจำนวนอาหาร จะเกิดความแตกต่างกันออกไปไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับผู้รับที่กล่าวมา เมื่อเป็นเช่นนั้นสาระหลักๆที่ต้องคำนึงต่อมา คือ สิ่งที่จัดเตรียมหรือนำไปให้นั้น เหมาะสม ถูกใจสำหรับผู้รับหรือไม่ เมื่อเรารู้แล้วว่าจะซื้อเพื่อหรือให้ใคร เช่นเดียวกับการเลือกซื้อในที่นี้ขอกว่าวถึง การเลือกซื้อสบู่และแชมพูเพื่อถวายเป็นสังฆทาน โดยผู้รับคือพระสงฆ์ เราควรคำนึงถึงรายละเอียดอะไรบ้างมาดูกัน หลักๆคือ การแต่งกาย และ ความเป็นอยู่หรือกิจของสงฆ์ในแต่ละวัน

พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่แตกต่างจากบุคคลธรรมดาอย่างมาก ทั้งรูปลักษณ์ ที่จะต้องปลงผมและหนวดเสมอๆ และความแตกต่างของข้าวของเครื่องใช้หรือที่เรียกว่าอัฐบริขาร ควรจะต้องให้เหมาะสมกับกับความเป็นบรรพชิต ผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อขัดเกลากิเลสและเจริญสติ และให้เหมาะกับสภาพชีวิตกิจวัตรประจำวัน ความเป็นอยู่, ที่พักอาศัย, เครื่องนุ่งห่ม อันเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ในการครองผ้าเหลืองภายใต้พุธศาสนาอย่างเห็นได้ชัด โดยที่ เครื่องแต่งกายของพระภิกษุ ย่อมไม่พ้นไปจากผ้า ๓ ผืนหลักคือ คือ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าห่มซ้อน โดยแยกรายละเอียด ได้แก่
ไตรครอง - อันตรวาสก อุตราสงค์ สังฆาฏิ กายพันธน์ ผ้าอังสะ และผ้ารัดอก
อันตรวาสก - ผ้าสบง (ผ้านุ่งด้านใน)
อุตราสงค์ - ผ้าจีวร (ผ้าห่มทับผ้าสบง)
สังฆาฏิ - ผ้าทาบ หรือผ้าห่มซ้อนทับด้านนอก เมื่อเจออากาศหนาว ในเวลาปกติท่านจะพับพาดซ้อนไว้ที่บ่า เวลาห่มดอง (การห่มจีวรอีกแบบตามวาระโอกาส หรือกิจที่ทำ)
กายพันธน์ - ผ้าประคดรัดเอว
ผ้าอังสะ คือ ผ้าสีเหลือง เสื้อใส่คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย ใช้เมื่อเวลาจำวัดหรืออยู่ตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
ผ้ารัดอก คือ ใช้สำหรับรัดจีวรบริเวณหน้าอก เมื่อเวลาห่ม เพื่อความแน่นหนาและสำรวม ผ้ากราบ ผ้าผืนเล็กๆที่พระสงฆ์พกติดตัว ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับประเคนของ เมื่อโยมผู้ถวาย เป็นหญิง

ไตรอาศัย คือ ไตรสำรองอีกชุดหนึ่ง มีจีวร สบง อังสะ และผ้าอาบน้ำฝน
โดยหลักๆพระสงฆ์ก็จะใช้อยู่ประมาณนี้ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ไม่ว่าอากาศจะร้อน หรือหนาว ท่านก็ยังครองผ้าเช่นนี้ โดยที่ บางส่วนถูกปกปิดตลอดเวลาด้วยผ้าหลายชั้นจาอาจเกิดความอับชื้น ส่วนทที่ แขน หัวไหล่ และ อีกหลายๆส่วน ไม่เคยได้ถูกปกปิดด้วยผ้านุ่งดังกล่าว รวมทั้งหนังศรีษะ ที่ปราศจากเส้นผม และต้องสัมผัสกับแดดและฝุ่นละอองโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปกปิดเพิ่มเติมได้ บางครั้งจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์บางรูปจะมีอาการคัน ที่ผิวหนังหรือหนังศรีษะ นั่นอาจเกิดจากการระคายเคืองของมลถาวะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และหรืออาจเกิดร่วมจากการใช้ผลิตภัณท์ทำความสะอาดผิวกายที่แรงเกินไป (เหมือนหวังดี แต่ประสงค์ร้าย ) ทำให้ผิดหนังที่ตัวแห้งเป็นขุย และไม่สามารถทาโลชั่นเพิ่มเติมได้ หรือเกิดจากแชมพูในท้องตลาดที่มุ่งเน้นเพื่อทำความสะอาดและบำรุงรักษาอย่างล้ำลึกที่เส้นผม จึงอาจไม่เหมาะกับหนังศรีษะที่ปราศจากเส้นผมของพระสงฆ์ และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนต้องเกาๆๆ และอาจลุกลาม นำไปสู่โรคผิดหนังได้ในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อาจอ่อนโยนเกินไป สำหรับ เช่นแชมพู หรือ สบู่สำหรับเด็ก เมื่อนำมาใช้กับเพศบรรพชิต ที่มีกิจที่ต้องออกแรงมากเป็นพิเศษในบางครั้ง เช่น กวาดลานวัด ที่คละคลุ้งไปด้วยฝุ่น หรือ การช่วยซ่อมสร้าง งานช่างต่างๆภายในวัด อาจจะไม่สามารถชำระล้างได้สะอาดพอ เพราะอ่อนโยนเกินไป จนเกิดการสะสมของเชื่อแบคทีเรียบนผิวหนังอันอาจทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ขึ้นได้

ฉะนั้นเราจึงควรมองหาแชมพูและสบู่ที่ดูจะเป็นมิตรกับผิวของพระสงฆ์ และคงต้องมุ้งเน้นไปในทางอ่อนโยน บำบัด ดูแล และรักษาที่พอเหมาะพอควร เบื้องต้นคงต้องเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากเคมีสกัด เพราะมักมุ่งเน้นใช้เพื่อการสวยๆงามๆ เช่น ขาวผ่อง หอมกรุ่น หรือ ผมนุ่มสลวย คุณสมบัติคร่าวๆมักเป็นเช่นนั้น และหรือมุ่งเน้น เพื่อแก้ปัญหาที่ปลายเหตุให้กับผู้ใช้ เช่น ผิวคล้ำ หมองดำ ผมแห้งแตกปลาย ร่วง เสีย !!

เมื่อหันกลับมองดูผลิตภัณฑ์ที่เหลือในท้องตลาดที่เป็นทางเลือกจากการเลี่ยงเคมี คงหนีไม่พ้น ความเป็นสมุนไพร แนะนำให้เลือกสบู่หรือแชมพูสมุนไพร ที่ให้ความชุ่มชื้น และดูแลรักษาผิวได้อย่างยั่งยืน ไม่มีสารตกค้างหรือผลข้างเคียงที่จะทำให้ระคายเคือง และไม่มีส่วนผสมเพิ่มเติมที่เกินความจำเป็น สำหรับพระสงฆ์ มองหาตามนั้น และเมื่อเจอแล้วก็ได้เวลาไปจัดชุดสังฆทานถวายพระสงฆ์กันค่ะ ยาลืม มีดโกน เครื่องขีดเขียน ถ่านไฟฉาย ปลั๊กสามตา หรือ เครื่องมือช่าง นะคะ สิ่งเหล่านี้มักถูกมองข้ามไป ทั้งๆที่มีความจำเป็นและถูกใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน นอกเหนือจากยาและอาหารแห้งทีถวายกันเป็นปรกติวิสัยอยู่แล้ว และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านในการทำบุญถวายสังฆทานที่อาจได้แง่คิดบางประการจากบทความนี้ ไม่มากก็น้อย และเกิดเป็นควาปราณีตในการจัดของเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ในกาลต่อๆไป สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

*หมายเหตุ รายได้ส่วนหนึ่งในการจัดจำหน่าย แชมพูสมุนไพร และ สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส ก็นำมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และ ร่วมกิจกรรมต่างๆค่ะ