วิธีเลือกสังฆทานงานแต่ง ให้เป็นสิริมงคล

การถวายสังฆทานสำหรับงานแต่งงาน ถือเป็นการ ทำบุญเพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ เราสามารถถวายสังฆทานงานแต่ง ได้โดยนิมนต์พระมาที่บ้านเพื่อรับสังฆทาน หรือไปถวายที่วัดก็ได้ การถวายสังฆทานงานแต่งงานนั้น นิยมถวายในช่วงเวลาเช้า โดยอาจจะหลังจากที่ทำการตักบาตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นการถวายสังฆทาน หรืออาจถวายสังฆทานก่อน แล้วค่อยถวายอาหารเพลในช่วงก่อนเที่ยงก็ได้ ในส่วนของสิ่งของหรือเครื่องจตุปัจจัยอาจไม่แตกต่างกับสังฆทานหรือเครื่องไทยธรรมทั่วไปก็เป็นได้ หากแต่อยากให้คำนึกถึง ความจำเป็นเหมาะสมและคุณภาพของสิ่งของเป็นสำคัญ โดยควรเลือกซื้อสิ่งของเพื่อมาจัดเป็นชุดสังฆทานด้วยตัวเอง เพื่อให้สังฆทานชุดนั้นมีคุณภาพมากกว่าการซื้อสังฆทานสำเร็จรูป เนื่องจากสังฆทานสำเร็จรูปในปัจจุบันไม่ค่อยได้มาตราฐาน หรืออาจเลือกถวายสังฆทานของทีเป็นสิ่งของที่เป้นมงคล มีความหมายดี หรือที่ต้องถวายเป็นคู่ ตามความเชื่อแต่โบราณก็ได้ อาทิเช่น

  • ถวายพระประจำวันเกิดของคู่บ่าวสาวในชุดสังฆทานงานแต่ง เพื่อความเป็นศิริมงคล
  • ถวายดอกไม้ ธูปเทียนที่จัดชุดอย่างประณีต เพื่อได้อานิสงส์ทางด้าน รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณดี เป็นที่เจริญหูเจริญตาของคู่ครอง ไม่เห็นใคร งดงาม สวยหล่อไปกว่าคู่ของตนเอง
  • ถวายที่นอนแด่พระสงฆ์ จะได้อนิสงฆ์คือ สงบสุขและความอบอุ่นในชีวิต อันหมายถึงครอบครัว ที่มีความสุขและอบอุ่น อยู่กันไปจนแก่จนเฒ่าแม้ในบั้นปลายชีวิต ก็จะมีลูกหลานห้อมล้อมดูแล ไม่ต้องอยู่โดดเดี่ยวลำพัง นี่คืออีกนัยหนึ่งของการแต่งงาน ในส่วนของคู่ครอง ความรัก และครอบครัว
  • ถวายหมอนคู่ อานิสงส์ เป็นผู้มีความอดทน อดกลั้นสูง สามารถรับแรงกดดัน การกระทบกระทั่งได้ ทำให้ชีวิตครอบครัวไม่แตกหักไปโดยง่าย ทำให้มีโอกาสอยู่ร่วมเรียงเคียงกันกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย จนแก่จนเฒ่า
  • ถวายร่ม ชีวิตรัก และชีวิตครอบครัว ร่มรื่น อยู่เย็นเป็นสุข และยังเป็นร่มโพธิร่มไทนให้แก่กันและกัน รวมไปถึงลูกหลานและบริวารด้วย
  • ถวายพัด หรือพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ ชีวิตรัก เย็นสดชื่น ผ่อนคลาย สบายกาย สบายใจ ที่ร้อนรุ่ม เมื่อถึงยามขัดแย้ง ก็จะคลายสลายหายไปได้โดยง่าย
  • ถวายไม้เท้าค้ำยัน จะเป็นคู่ที่คอยสนับสนุน ค้ำจุน ดูแล ปกป้องรักษา เป็นเสาหลักให้แก่กันและกัน และเป็นที่พึ่งพาของบุตรหลานและบริวาร และได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคู่ชีวิตและบุตรหลาน เป็นอย่างดี มีลูกหรือบริวารดี อยู่ในโอวาท ว่านอนสอนง่าย
  • ถวายตะเกียงไฟฉาย หลอดไฟส่องสว่าง ทำให้ชีวิตรักและชีวิตครอบครัว สว่างไสว เลือกเดินไปในทางที่ถูกที่ควรและมีความสุข ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆไปได้อย่างง่ายดาย
  • ถวายผ้าปูลาด เพื่อหนทางชีวิตรัก และการครองเรือน ราบเรียบ ไร้อุปสรรค
  • ถวายเชิงเทียนหรือแจกัน คู่ รองเท้า เพื่ออยู่กันเป็นคู่จนแก่เฒ่า
  • ถวายยาสามัญประจำบ้าน ดูแลแก้ไข อาการต่างๆที่ไม่พึงประสงค์ในชีวิตให้หายไปโดยเร็ว อาทิเช่น ความขัดแย้งของสามี ภรรยา หรือ ปัญหาความวุ่นวายของบุตร หรือบริวารในครอบครัว ซึ่งอาจเป็นเหตุนำมาซึ่งความกังวล สับสน ขัดแย้ง จนก่อให้เกิดข้อพิพาทกันเองระหว่างสามีภรรยาก็เป็นได้

สำหรับสังฆทานอาหารหรือสังฆทาน(สด)งานแต่ง
ในช่วงเช้าหรือก่อนเพล นอกจากอาหารคาวหวานทั่วไปแล้ว อาจเพิ่มเติมขนมหวานที่เชื่อกันว่าเป็นมงคล และเป็นสัญลักษณ์ของความหวานชื่น ในชีวิตคู่เพิ่มเติมได้ตามนี้

  • เสน่ห์จันทน์ หมายถึง มีเสน่ห์ คนรักคนหลง
  • ทองเอก หมายถึง เป็นสามีหรือภรรยาหนึ่งเดียวในดวงใจ
  • ทองหยิบ หมายถึง ชีวิตคู่รุ่งเรือง มั่งคั่งร่ำรวย
  • ทองหยอด หมายถึง มีเงินมีทองเข้ามาให้ได้ใช้จ่ายตลอดเวลาไม่จบไม่สิ้น
  • ฝอยทอง หมายถึง ชีวิตคู่ที่ยืนยาว อยู่เคียงข้างครองคู่กันจนแก่จนเฒ่า
  • ขนมชั้น หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าของครอบครัว ในทุกๆด้าน
  • เม็ดขนุน หมายถึง คู่บ่าวสาวมักได้รับความเมตตา ได้รับการสนับสนุนเสมอๆ
  • จ่ามงกุฎ หมายถึง มีเกียรติยศ เเพียบพร้อมด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ ของคู่บ่าวสาว
  • ถ้วยฟู หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู ในชีวิตรัก และชีวิตคู่ ครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญ

วิธีจัดของถวายสังฆทานงานแต่ง

การจัดของถวายสังฆทานงานแต่ง หรืองานบุญใดๆก็ตาม ผู้ถวายควรคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดแก่พระสงฆ์ผู้รับเป็นสำคัญ จึงต้องเลือกสรรสิ่งที่ดี มีคุณภาพ ตั้งใจจัดอย่างความประณีต ด้วยศรัทธาแรงกล้าที่จะทะนุบำรุงพระศาสนา คัดสรรสิ่งของที่เหมาะที่ควรต่อการดำรงชีพของพระสงฆ์ เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์ และผู้ถวายต้องไม่ลืมการดูแลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้รับในที่นี้คือสงฆ์ โดยสิ่งของที่จัดขึ้นเป็นชุดสังฆทานสำหรับงานแต่ง อาจจัดใส่ถุงผ้างที่มีความประณีต ตกแต่งด้วยริบบิ้นเส้นใหญ่สีสวยหวานหรือดอกไม้ประดับเพิ่มเติมเพื่อให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นก็เป็นได้ เพื่อให้สมกับเป็นงานแห่งความสุขชื่นมื่น หรือจัดใส่ภาชนะที่ใดๆเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหากพระท่านสามารถนำภาชนะมาใช้ซ้ำได้ ก็จะเป็นปะโยชน์ยิ่งขึ้น

ในชุดสังฆทาน ควรแยกของอุปโภคและบริโภคไม่ให้ปะปนกัน ควรบรรจุ แยกภาชนะ เพื่อรักษาสภาพและคุณภาพของสิ่งของต่างๆเหล่านั้นให้ยังคงเป็นปรกติ พร้อมถูกใช้งานตามวัตถุประสงค์ของๆชิ้นนั้น โดยเฉพาะของสำหรับบริโภค ที่ถวายเพื่อให้พระท่านฉัน ควรตรวจดูความเรียบร้อยของบรรจุภัณท์และวันหมดอายุให้ถี่ถ้วน

คำถวายสังฆทานงานแต่ง ให้ใช้คำถวายสังฆทานสามัญ

คำอาราธนาศีล ๕
อิมานิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ

คำถวายสังฆทาน
(ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกัน)
อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมถวาย ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่ญาติมิตร ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.

สนับสนุนโดย สบู่สมุนไพร & แชมพูสมุนไพร ตราโสฬส

สำหรับ ถวายสังฆทาน

โสฬส (อ่านว่า โส-ลด) หมายถึง พรหมโลก 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพชั้นรูปพรหม ถือกันว่าเป็นที่อันบรมสุข

แชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย

เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

สบู่สมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน

เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

สบู่ & แชมพู สมุนไพร
ที่เหมาะกับกิจวัตรของสงฆ์

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะ ของพระภิกษุสงฆ์จากอาการผิวแห้ง และอาการคัน เหมาะกับกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดด และสัมผัสกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ

“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”

วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
ถวายสังฆทาน

เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี

มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

เพื่อถวายพระสงฆ์

เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้

ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร

คำว่าสังฆทาน มาจากภาษาบาลี “สังฆะ” หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ “ทาน”

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้ทานด้วยจิต และเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการถวายทานเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้จัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือให้คณะพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monk Offering หรือ Making Offering to Monk จึงหมายถึง ทานที่ตั้งใจถวายแก่ผู้แทนของหมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง (หากถวายโดยระบุเฉพาะ เรียกว่า ปาฎิปุคลิกทาน) โดยเชื่อว่าการถวายสังฆทานจะได้รับอานิสงส์มากเพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงการกระทำด้วยศรัทธา

ดังนั้น การให้ทาน หรือถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทุกประเภทที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เช่น ส่งเสริมการศึกษา การทำบุญรูปแบบใดก็ได้ ไม่ต้องห่อ หรือใส่ถึงเหลือง ก็ถือเป็นสังฆทานได้ ซึ่งสามารถทำได้ตลอด ไม่ต้องรอโอกาส หรือ เทศกาล รวมถึงการตักบาตรพระสงฆ์ก็ถือเป็นสังฆทานได้เช่นกัน

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

ของที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ นั้นคือปัจจัย 4 อะไรก็ได้ที่เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ โดยผู้จะทำบุญจะต้องมีความตั้งใจในการทำบุญ (ปุพพเจตนา) จึงควรต้องพิจารณาเลือกสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ ซึ่งควรเป็นของที่มีคุณภาพ สามารถใช้ได้จริง หรือเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำเอง หรือ ซื้อหาจากแหล่งต่างๆแบบสำเร็จรูป เช่น ถังเหลือง หรือสามารถจัดของถวายสังฆทานด้วยตัวเองก็ได้ และควรถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล (มุญฺจเจตนา) และเมื่อถวายแล้วกำให้ทำจิตใจเป็นบุญ ให้ยินดีการการทำบุญ ไม่เกิดความเสียดาย (อปราปรเจตนา)

สังฆทานทำเอง คือ การเลือก และจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องไทยธรรม รวมถึงจตุปัจจัยต่างๆที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ด้วยตัวเอง ไม่ได้หาซื้อในลักษณะชุดสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้แล้ว ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือ ห้างร้านต่างๆ โดยสิ่งของทั่วไปที่นิยมนำไปถวายพระสงฆ์ ควรเลือกให้เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ตามวัดที่จะไปทำบุญ โดยการเลือกของถวายพระสงฆ์ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ และคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ควรคำนึงแต่จะถวายให้ได้จำนวนหรือปริมาณมากๆ หรือต้องการถวายพระให้ได้หลายๆรูปและไปลดคุณภาพของสังฆทานลง และควรทำตามกำลังทรัพย์ ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ตัวอย่าง เครื่องไทยธรรมที่นิยมจัดหาไปถวายพระสงฆ์ เช่น

  1. อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องเรียน ซึ่งจะเหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องเรียนพระปริยัตธรรม
  2. มีดโกน และใบมีด สำหรับโกนศีรษะ และมีดโกนหนวด
  3. น้ำยาซักผ้า และผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอดีที่จะนุ่งห่มได้ และเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม เช่น ผ้ามัสลิน
  4. หนังสือธรรมะ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ
  5. รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์
  6. ยาสมุนไพรต่างๆ และยาสามัญประจำบ้าน
  7. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  8. สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ หรือ แม้แต่เครื่องมือช่างที่จะต้องใช้ซ่อมบำรุง เช่น ค้อน ไขควง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แปรงทำความสะอาด เป็นต้น
  9. น้ำปานะ เช่น ชาสมุนไพร
  10. แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร สำหรับพระสงฆ์

พระสงฆ์สามารถใช้สบู่ และยาสระผมได้ แม้อาจจะถูกจัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระสงฆ์สามารถไช้สบู่ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย และใช้ยาสระผม(แชมพู) เพื่อเอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากพระสงฆ์ไม่มีเส้นผมมาปกป้องหนังศีรษะ แชมพูที่ดีจะช่วยช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะไม่ให้เสียไป จึงช่วยลดการระคายเคืองจากความร้อน ฝุ่นละออง ลดการติดเชื้อ และโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ

หลังจากแจ้งพระสงฆ์ว่าจะถวายสังฆทานแล้ว ให้ปฎิบัติดังนี้

1.จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

2.พนมมือและกล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งนโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

3.กล่าวไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

4.สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

5.กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

6.กล่าวคำถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

7.ประเคนของที่นำมาให้พระสงฆ์

8.การกรวดน้ำ

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา อย่างไรก็ตามก็ควรดูกาละเทศะ ความเหมาะสมด้วย นอกจากนี้ หากนำของกินของขบเคี้ยวไปถวาย หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเช้า หรือเพล แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร

แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา

- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ

ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393

@solot