เมื่อเรามีจิตศรัทธา และ มีความตั้งใจที่จะถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ เราควรคิดถึงประโยชน์ของผู้รับเป็นที่ตั้ง วันนี้ทาง #โสฬส จึงขอรวบรวมไอเทมยอดนิยมตลอดกาลที่คุยกันในกระทู้พันทิป ว่าด้วยเรื่องการจัดชุดสังฆทานทำเอง ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่หาได้ง่ายทั่วไป ตามห้างหรือร้านสะดวกซื้อ โดยรวบรวมสรุป มาจากหลายๆกระทู้ในพันทิป ว่าด้วยหัวข้อการ จัดสังฆทานเอง pantip เพื่อเป็นแนวทาง และเพื่อความสะดวกในการตัดสินใจเมื่อต้องการจะถวายสังฆทานหรือจัดชุดสังฆทานทำเองโอกาสต่อๆไป ดังนี้

  1. ประเภทอาหาร
    • ข้าวสาร
    • น้ำเปล่า
    • นม UHT นมถั่วเหลือง UHT
    • เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ไมโล โอวัลติน
    • กาแฟ 3 in 1
    • ชาจีน หรือชาไทยซอง
    • น้ำผัก-น้ำผลไม้กล่อง ชนิดความเข้มข้น 80 - 100 %
    • เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง ขิงผงสำเร็จรูป
    • เนสวีต้าเครื่องดื่มผสมธัญพืช หรือจะเป็น ไมโลหรือโอวัลติน
  2. ประเภทของใช้ส่วนตัว
    • ผ้าไตรจีวรทั้งชุด
    • สบู่
    • ยาสระผม
    • แปรงสีฟัน
    • ยาสีฟัน
    • ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ
    • มีดโกนหนวด
    • ใบมีดขนนก
    • รองเท้า
  3. ประเภทยา
    • ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้านต่างๆ
    • ยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาเคลือบกระเพาะ ยาธาตุสี่ตากิเลน ยาธาตุน้ำขาวกระต่ายบิน พาราเซตามอล
    • ยาใช้ภายนอกต่างๆ และวัสดุต่างๆ เช่น ยาหม่อง เบตาดีน ทิงเจอร์ แอลกอฮอล์ น้ำเกลือล้างแผล ผ้าก้อต สำลี พลาสเตอร์ยา เทปติดผ้าก้อตสำหรับทำแผล
    • ยาทากันยุง หรือโลชั่นทากันยุง
  4. ประเภทของใช้ทั่วไป
    • กระติกน้ำร้อน
    • จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ที่ล้างจาน
    • กระดาษทิชชู
    • ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ
    • ธูป เทียน (พร้อมด้วยดอกไม้)
  5. ประเภทใช้ทำความสะอาด
    • น้ำยาล้างจาน
    • ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม
    • แปรง น้ำยาล้างห้องน้ำ
  6. ประเภทเครื่องเขียน
    • สมุดเปล่า ปากกา ดินสอ ลิควิด ยางลบ ไม้บรรทัด
    • ประเภทหนังสือ
    • พระไตรปิฎก ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ

“มนาปทายี ลภเต มนาปํ ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ”

ตัวอย่าง รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากจะแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

สบู่ถวายพระ: ควรเลือกเป็น สบู่สมุนไพร และ เป็นสบู่สมุนไพรที่ผลิตมาเพื่อพระสงฆ์โดยเฉพาะ เนื่องจากปราศจากกลิ่นหอม เนื่องจากพระภิกษุ มีข้อบัญญัติ งดเว้นจากการประดับตกแต่งของหอม และ ควรดูวันเดือนปี ที่ผลิต และ วันหมดอายุ และ มีมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้

แชมพูถวายพระ: ควรเลือกเป็นแชมพูสมุนไพร และ เป็นแชมพูสมุนไพรที่ผลิตมาเพื่อพระสงฆ์โดยเฉพาะ และ สามารถใช้ปลงผมได้ในวันโกน และ และไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดการระคายเคือง และปราศจากกลิ่นหอม เนื่องจากพระภิกษุ มีข้อบัญญัติ งดเว้นจากการประดับตกแต่งของหอม และ ควรดูวันเดือนปี ที่ผลิต และ วันหมดอายุ มีมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้

ยาสีฟัน: ควรดูวันเดือนปี ที่ผลิต และ วันหมดอายุ

แปรงสีฟัน: ควรเลือกชนิดขนแปรงที่ไม่แข็งมากเกินไป

ใบมีดโกน: ใบมีดโกนที่ใช้นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ใช้โกนผมควรเป็นแบบใบมีด 2 ใบ และ ใช้โกนหนวดจะเป็นแบบใบมีดเดี่ยว ควรเลือกยี่ห้อดีหน่อยไม่งั้นเวลาใช้โกนหนวด หรือ ปลงผมจะเจ็บ และ ควรมีด้ามยาวช่วยให้จับถนัดมือ ไม่หลุดมือ

น้ำยาซักผ้า: การใช้น้ำยาซักผ้าจะดีกว่าผงซักฟอก เพราะสถานที่ตากอังสะ สบง และจีวร บางแห่งอาจไม่โดนแดด ซึ่งอาจทำให้ผ้ามีกลิ่นอับได้

ผ้าไตรจีวร:

สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ

  • พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
  • พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
  • การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็เลือกสีพระราชทานไว้ก่อน
  • ขนาด พระภิกษุท่านมีความสูงเท่าไหร่
    • พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
    • พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
    • พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
    • พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.

หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์

ชนิดผ้า อยากให้พิจารณาชนิดของผ้าที่ต้องการจะถวายตามงบประมาณ

  • โทเร: เนื้อผ้าเหมือนเสื้อนักเรียนค่ะ ผ้านุ่มปานกลาง ระบายอากาศได้พอสมควร เหมาะกับพระที่ต้องการบวชระยะสั้น ราคาถูกที่สุด และ เหมาะกับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
  • มิสลิน หรือ มัสลิน: เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี ใส่สบาย เป็นที่นิยมเนื่องจากเหมาะสมกับสภาพอากาศ ราคาปานกลาง
  • ซันฟอไรซ์: เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี เนื้อผ้าหนากว่ามิสลิน มีความคงทน ราคาปานกลาง
  • ฝ้าย: เนื้อผ้าหนานุ่ม เหมาะกับอากาศเย็น เช่นทางภาคเหนือ ราคาค่อนข้างสูง
  • ไหม: เนื้อผ้านุ่มลื่นเป็นเงา ใช้ถวายพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์ ราคาสูง

ผ้าขนหนู:ควรเลือกทั้ง ผืนเล็ก และ ผืนใหญ่ ขนอ่อนนุ่ม ซับน้ำดี และ แห้งเร็ว สีสุภาพ

ผ้าอาบน้ำฝน: จะต้องถวายให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ คือ เป็นผ้าผืนยาว 6 คืบ พระสุคตกว้าง 2 คืบครึ่ง คิดโดยประมาณของช่างไม้ปัจจุบันยาวรวม 4 ศอก กับ 3 กระ เบียด กว้างราว 1 ศอก 1 คืบกับ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าทำให้ยาวหรือกว้างเกินประมาณนี้ไป พระภิกษุใช้สอยต้องอาบัติ ต้องตัดส่วนที่กว้างหรือยาวเกินประมาณนั้นออกเสีย จึงแสดงอาบัติได้

ธูป เทียนไฟแช็ก: เพื่อให้พระสงฆ์ใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืนและจุดเพื่อบูชา ถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้า

ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย: เพื่อให้พระสงฆ์ใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืน

ร่ม: เพื่อให้พระท่านใช้กันฝนกันแดด

น้ำยาล้างจาน: เพื่อใช้ล้างบาตร และ อุปกรณ์ฉัน

น้ำยาล้างห้องน้ำ: เป็นเรื่องสุขอนามัยภายในวัดที่หลายคนอาจมองข้ามไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่มีญาติโยมไปทำบุญเป็นจำนวนมาก

น้ำยาเช็ดพื้น: น้ำยาเช็ดพื้น พระท่านจะนำไปถูพื้นกุฏิ ศาลา อุโบสถนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความสะอาดแล้ว น้ำยาบางชนิดยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัดของหมาในวัดได้อีกด้วย

รองเท้าแตะ: แบบของรองเท้าที่นำมาถวายนั้น ควรดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อาจลองสังเกตดูก็ได้ว่า แต่เดิมพระสงฆ์ที่วัดแห่งนั้นสวมใส่รองเท้าแบบใด

สมุดและเครื่องเขียน: เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ หรือสามเณรในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไว้ใช้จดนัดหมายกิจนิมนต์ต่าง ๆ

วิธีจัดชุดสังฆทานด้วยตัวเองต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

การจัดชุดสังฆทานทำเองโดยทั่วไป หลักๆที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆก่อนเริ่มจัดสิ่งของ คือ

  1. งบประมาณในการถวายสังฆทาน
    • การจัดชุดสังฆทานด้วยตนเอง อาจกล่าวได้ว่า เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับการตั้งใจทำบุญ ผู้จัดได้เลือกของอย่างตั้งใจ ได้คำนึกถึงคุณภาพและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อพระหรือเมื่อถูกนำไปใช้ ถือเป็นบุญประณีต และได้จัดตามกำลังทรัพย์และตรงจุดประสงค์ในครั้งนั้นๆ ถือว่าไม่เบียดเบียนตนไม่เบียดเบียนโลก เริ่มจากว่ามีงบประมาณกี่บาท โดยงบประมาณที่ใช้ ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพ เศรษฐกิจส่วนตัว ณ.ช่วงเวลานั้น จากนั้นเลือกของที่จะถวายสังฆทานให้อยู่ในงบประมาณดังกล่าว โดยเลียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง ตามวัตถุประสงค์ในการทำครั้งนั้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสิ่งของ อาทิเช่น ความต้องการหรือความขาดแคลนสิ่งของต่างๆ ของวัดที่จะไปถวาย โดยสามารถสอบถามทางวัดถึงสิ่งที่กำลังต้องการ หรือขาดแคลน เพื่อให้สิ่งของนั้นได้เกิดประโยชน์ในทันที คำนึงถึง ภูมิอากาศ และอื่นๆ ดังที่จะได้กล่าวในหัวข้อต่อๆไป
  2. ถวายสังฆทานเนื่องในโอกาสใด
    • เนื่องในโอกาสใด เช่น ทำบุญ 100 วัน ให้ผู้เสียชีวิต สังฆทาน อาจเป็นสังฆทานสด คือถวายภัตตาหารแก่หมู่สงฆ์ก็เป็นได้ เพราะเชื่อว่า อานิสงส์แรงและเร็ว เพราะพระท่านรับไว้แล้วฉันเลย ได้บำรุงร่างกายแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ บุญเกิดขึ้นจบครบบริบูรณ์ทันที และอาจร่วมด้วยการถวายอาหารที่ผู้เสียชีวิต ชอบรับประทานเมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่ก็ถือว่า อาหารนั้นจะไปถึงผู้เสียชีวิตด้วยรูปลักษณ์ รสชาติ ตามนั้น ให้ได้รับประทานด้วยเช่นกัน หรือทำบุญสังฆทาน เพื่อสร้างบุญ สะสมบุญให้กับตนเอง
      ผู้ถวายสังฆทาน
  3. ช่วงเวลาที่ทำสังฆทานนั้นเหมาะสมกับสังฆทานประเภทใด
    • ช่วงเวลาที่ทำสังฆทานนั้นเหมาะสมกับสังฆทานประเภทไหนอย่างไร อาทิ หน้าฝน อาจพิจรณาเป็นร่มกันฝน ฤดูหนาว อาจถวายหมวกถักสีเหลืองหรือสีกรัก ตามสีจีวรที่ท่านนุ่ง เพื่อความอบอุ่นของหนังศรีษะ หรือถวายผ้าห่มเพิ่มเติม หรือถ้าเป็นช่วงเวลาหลังเพลก็ไม่เหมาะที่จะถวายสังฆทานสด หรืออาหาร
  4. ผู้ถวายสังฆทาน
    • จิตตั้งมั่นที่จะสร้างกุศลของผู้ถวาย ด้วยความบริสุทธิใจ รวมทั้งปัจจัยที่นำมาใช้ซื้อจัดเตรียมสิ่งของ ต้องเป็นเงินที่ได้มาโดยสุจจริต

คำถวายสังฆทาน สามัญ (คำถวายสังฆทานให้คนเป็น)

(ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกัน)
อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมถวาย ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่ญาติมิตร ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.

จะเห็นได้ว่าคำถวายสังฆทาน ก็ใช้บทเดิมๆ ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป
แต่ก็อาจมีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย เมื่อต้องการเน้นย้ำให้กับคนเป็น คือเมื่อทำบุญเสร็จ ระหว่างกรวดน้ำ บทที่พระสวด ตรงคำว่า ยถา คือให้ผี สัพพี คือให้คน พอขึ้นคำว่า ยถาให้ผี คนที่กรวดน้ำ ก็เทน้ำไปเรื่อยๆด้วยจิตใจทีสงบตามปรกติ จนถึงคำว่า สัพพี คือให้คน ก็ให้กล่าวชื่อคนที่เราต้องการส่งบุญให้ โดยอธิษฐานว่า ขอให้บุญนี่ถึงแก่เทวดา หรือผู้คุ้มครอง ในตัวบุคคลนั้นๆ หรือบ้างก็กล่าวว่า การกรวดน้ำ เป็นเพียงพิธีกรรม ที่อาจไม่จำเป็นนัก อย่าไปยึดติดจนเกินไป ขอเพียงเมื่อถวาย ผู้ถวายมีจิตสงบตั้งมั่น และละลึกนึกถึงบุญที่กระทำ และละลึกถึงผู้ที่เราต้องการให้ได้รับบุญนั้นๆอย่างจดจ่อ เพียงเท่านี้ บุญก็ถึงแน่นอน

ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร

คำว่าสังฆทาน มาจากภาษาบาลี “สังฆะ” หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ “ทาน”

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้ทานด้วยจิต และเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการถวายทานเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้จัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือให้คณะพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monk Offering หรือ Making Offering to Monk จึงหมายถึง ทานที่ตั้งใจถวายแก่ผู้แทนของหมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง (หากถวายโดยระบุเฉพาะ เรียกว่า ปาฎิปุคลิกทาน) โดยเชื่อว่าการถวายสังฆทานจะได้รับอานิสงส์มากเพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงการกระทำด้วยศรัทธา

ดังนั้น การให้ทาน หรือถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทุกประเภทที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เช่น ส่งเสริมการศึกษา การทำบุญรูปแบบใดก็ได้ ไม่ต้องห่อ หรือใส่ถึงเหลือง ก็ถือเป็นสังฆทานได้ ซึ่งสามารถทำได้ตลอด ไม่ต้องรอโอกาส หรือ เทศกาล รวมถึงการตักบาตรพระสงฆ์ก็ถือเป็นสังฆทานได้เช่นกัน

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

ของที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ นั้นคือปัจจัย 4 อะไรก็ได้ที่เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ โดยผู้จะทำบุญจะต้องมีความตั้งใจในการทำบุญ (ปุพพเจตนา) จึงควรต้องพิจารณาเลือกสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ ซึ่งควรเป็นของที่มีคุณภาพ สามารถใช้ได้จริง หรือเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำเอง หรือ ซื้อหาจากแหล่งต่างๆแบบสำเร็จรูป เช่น ถังเหลือง หรือสามารถจัดของถวายสังฆทานด้วยตัวเองก็ได้ และควรถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล (มุญฺจเจตนา) และเมื่อถวายแล้วกำให้ทำจิตใจเป็นบุญ ให้ยินดีการการทำบุญ ไม่เกิดความเสียดาย (อปราปรเจตนา)

สังฆทานทำเอง คือ การเลือก และจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องไทยธรรม รวมถึงจตุปัจจัยต่างๆที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ด้วยตัวเอง ไม่ได้หาซื้อในลักษณะชุดสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้แล้ว ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือ ห้างร้านต่างๆ โดยสิ่งของทั่วไปที่นิยมนำไปถวายพระสงฆ์ ควรเลือกให้เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ตามวัดที่จะไปทำบุญ โดยการเลือกของถวายพระสงฆ์ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ และคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ควรคำนึงแต่จะถวายให้ได้จำนวนหรือปริมาณมากๆ หรือต้องการถวายพระให้ได้หลายๆรูปและไปลดคุณภาพของสังฆทานลง และควรทำตามกำลังทรัพย์ ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ตัวอย่าง เครื่องไทยธรรมที่นิยมจัดหาไปถวายพระสงฆ์ เช่น

  1. อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องเรียน ซึ่งจะเหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องเรียนพระปริยัตธรรม
  2. มีดโกน และใบมีด สำหรับโกนศีรษะ และมีดโกนหนวด
  3. น้ำยาซักผ้า และผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอดีที่จะนุ่งห่มได้ และเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม เช่น ผ้ามัสลิน
  4. หนังสือธรรมะ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ
  5. รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์
  6. ยาสมุนไพรต่างๆ และยาสามัญประจำบ้าน
  7. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  8. สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ หรือ แม้แต่เครื่องมือช่างที่จะต้องใช้ซ่อมบำรุง เช่น ค้อน ไขควง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แปรงทำความสะอาด เป็นต้น
  9. น้ำปานะ เช่น ชาสมุนไพร
  10. แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร สำหรับพระสงฆ์

พระสงฆ์สามารถใช้สบู่ และยาสระผมได้ แม้อาจจะถูกจัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระสงฆ์สามารถไช้สบู่ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย และใช้ยาสระผม(แชมพู) เพื่อเอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากพระสงฆ์ไม่มีเส้นผมมาปกป้องหนังศีรษะ แชมพูที่ดีจะช่วยช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะไม่ให้เสียไป จึงช่วยลดการระคายเคืองจากความร้อน ฝุ่นละออง ลดการติดเชื้อ และโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ

หลังจากแจ้งพระสงฆ์ว่าจะถวายสังฆทานแล้ว ให้ปฎิบัติดังนี้

1.จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

2.พนมมือและกล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งนโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

3.กล่าวไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

4.สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

5.กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

6.กล่าวคำถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

7.ประเคนของที่นำมาให้พระสงฆ์

8.การกรวดน้ำ

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา อย่างไรก็ตามก็ควรดูกาละเทศะ ความเหมาะสมด้วย นอกจากนี้ หากนำของกินของขบเคี้ยวไปถวาย หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเช้า หรือเพล แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร

สนับสนุนโดย

สบู่สมุนไพร & แชมพูสมุนไพร ตราโสฬส

สำหรับ ถวายสังฆทาน

โสฬส (อ่านว่า โส-ลด) หมายถึง พรหมโลก 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพชั้นรูปพรหม ถือกันว่าเป็นที่อันบรมสุข

แชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย

เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

สบู่สมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน

เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

สบู่ & แชมพู สมุนไพร
ที่เหมาะกับกิจวัตรของสงฆ์

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะ ของพระภิกษุสงฆ์จากอาการผิวแห้ง และอาการคัน เหมาะกับกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดด และสัมผัสกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ

“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”

ร่วมสนับสนุนเรา เช่นเดียวกับลูกค้าท่านอื่น
กว่า 49,000 คน

ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”

“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ

การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร

1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย

2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก

@solot
วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
ถวายสังฆทาน

เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี

มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

เพื่อถวายพระสงฆ์

เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้

แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา

- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ

ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393

@solot