สังฆทาน คืออะไร และมีขั้นตอนการถวายสังฆทานอย่างไร

สังฆทาน เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก โดย สังฆทาน แยกออกเป็น 2 คำ คือคำว่า ”สังฆะ” และ ”ทาน”

สังฆะ หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ ทาน หมายถึง การ ให้ การแบ่งปัน การจ่ายแจกวัตถุสิ่งของ หรือปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์

ตามประวัติการถวายสังฆทานนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คือในช่วงต้นพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี ซึ่งเป็นพระแม่น้า ทรงต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยทรงให้อรรถาธิบายว่า เมื่อถวายแก่สงฆ์ ย่อมจะมีอานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงอนุวัตตามพุทธดำรัสนั้น ตั้งแต่นั้นมา

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้การถวายวัตถุสิ่งของ่างๆ แก่ ”หมู่แห่งภิกษุ” หรือแก่ ”ภิกษุสงฆ์ “ หรือหมายถึง การถวายแด่พระสงฆ์ทั้งหมด ทั้งวัด สงฆ์ทั่วไป หรือสงฆ์ที่มีอยู่ทั่วทั้งโลกและสิ่งของที่ถวาย ควรเป็นจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ทุกรูปที่อยู่ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการตามสะดวก โดยมิได้มีสงฆ์ใดเป็นผู้ครอบครองสิทธิขาดอยู่ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย “ไม่เลือก” ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)

”สังฆทาน” จึงหมายถึง การ ให้ปันหรือ” ที่ต้องย้ำคำว่า ”หมู่แห่งภิกษุหรือหมู่แห่งสงฆ์” ก็เพราะ เจตนารมณ์ของสังฆทานก็เพื่อต้องการถวายแก่สงฆ์ทั้งปวง โดยไม่จำเพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด การถวายแก่ภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งรูปใดเพียงรูปเดียว เรียกว่า ”ปาฏิปุคลิกทาน” เป็นทานที่ถวายจำเพาะบุคคล ซึ่ง มีความหมายและเจตนา ตรงกันข้ามกับสังฆทาน ที่ ปาฏิปุคลิกทาน

สังฆทาน…เป็นทานที่ขยายใจให้กว้างไปในความเป็นหมู่คณะ คือ เพื่อให้เป็นประโยชน์แด่สงฆ์โดยส่วนรวม ไม่เหมือนปาฏิบุคลิกทาน ซึ่งเป็นทานที่เลือกถวายเจาะจงแด่พระที่คุ้นเคยหรือที่ตนศรัทธาเท่านั้น อันนับว่าเป็นทานที่มีอานิสงส์ไม่มาก เพราะบุคคลที่ทำ คงยึดติดและถือมั่นในภิกษุบางรูป แต่กระนั้นก็ยังสามารถทำได้ เพื่อเป็นโอกาสการฝึกให้บุคคลนั้นๆค่อยๆเข้าใจ และรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม สามารละวางจนถึงขั้นเข้าใจและไม่ยึดติดในการถวายทานแก่พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่แสดงออกถึงเลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล แต่แสดงออกถึงความเสมอภาคเพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวง เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง

ของถวายสังฆทาน ควรมีอะไรบ้าง

ควรถวายปัจจัย 4 ของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า “จตุปัจจัย”

  1. บิณฑบาต
  2. เสนาสนะ
  3. จีวร
  4. คิลานเภสัช

เทียบกับปัจจัยสี่ของคนเราก็คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และในยุคนี้คนเราอาจจะบอกว่า เรายังต้องมี ปัจจัยห้า คือ พหานะ เช่น รถจักรยานยนต์หรือ รถยนต์ และปัจจัยหก คือ โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพราะนนั่นก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผยแพร่ศาสนาเช่นกัน ทั้งนี้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ของถวายสังฆทาน

วิธีถวายสังฆทาน และขั้นตอนถวายสังฆทานมีอะไรบ้าง

  1. พิธีการถวายสังฆทานนั้น หากมีหิ้งพระพุทธ ก็จะเริ่มด้วยการจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย (แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นไร)
    ในพิธีการถวาย พึงจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา) กล่าวภาษาบาลี แล้วกราบพระก่อนว่า“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ” (กราบ)
  2. อาราธนาศีล ว่า
    “มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ”เสร็จแล้ว พระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับ ศีลจบแล้วตั้งนะโม…เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” 3 จบ จากนั้นพระสงฆ์จะนำกล่าว นะโมตัสสะ และ ปานาติปาตา ตามลำดับ ก็ให้เรากล่าวตามพระสงฆ์ได้เลย
  3. จากนั้นก็ให้กล่าว คำถวายสังฆทาน ดังนี้
    “อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”โดยกล่าวคำแปลต่อ โดยกล่าวว่า“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ”
  4. ประเคนทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยหลังจากประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบท “ยะถา วาริวะหา ให้ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ
    “ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา” ถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง “มณีโชติรโส ยะถา”ก็ให้หยุดการกรวดน้ำ แล้วประนมมือรับพรพระต่อไปจนจบ
    (รับพรพร้อมกัน )
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ
    อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
  5. เมื่อจบลำดับขั้นตอนถวายสังฆทาน จากนั้นให้นำน้ำที่กรวดแล้ว ไปเทลงดิน ใต้ต้นไม้ อย่างมีสติ

บทสรุป ความตั้งใจเริ่มแรก ของสังฆทาน ก็คือ ต้องการให้พุทธศาสนิกชนหรือผู้ถวายสังฆทานนั้น ตระหนักถึงความสำคัญของสงฆ์ ผู้ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติ รักษา ศึกษา และสืบต่อ เป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดอาจกล่าวได้ว่า เป็นกิจเพื่อส่วนรวม ไม่สามารถประกอบกิจส่วนบุคลเพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีวิตเช่นบุคคลทั่วไปหรือพ่อค้าวานิชได้ จึงสมควรต้องได้รับความอุปถัมภ์ด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ และสามารถดำเนินกิจกรรมหลักของสงฆ์ คือการเผยแผ่ธรรม ต่อไปได้ด้วยดี เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว สาระของสังฆทานจึงสรุปได้ว่า สังฆทานเพื่อความมั่นคงแห่งสงฆ์ และความมั่นคงแห่งสงฆ์ก็เพื่อความแพร่แห่งธรรม สงฆ์อยู่ ธรรมก็อยู่ สงฆ์สูญ ธรรมก็สิ้น สังฆทานที่แท้ จึงต้องคำนึงถึงความมั่นคงของสงฆ์และความแพร่หลายแห่งธรรมเป็นสำคัญ ไม่ใช่คำนึงถึงการเสริมดวงชะตาเพื่อความมั่งคั่ง หรือการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาของตนเองเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ดี ในความหมายของสังฆทานนั้น แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่เจตนาแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ แต่หากเราต้องการกล่าวคำถวายสังฆทานตามที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา จะต้องกล่าวคำถวายสังฆทานเนื่องในโอกาสต่างๆอย่างไรบ้างนั้น เช่น คำถวายสังฆทานวันเกิด คำถวายสังฆทานอุทิศ ก็สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คำถวายสังฆทาน

ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร

คำว่าสังฆทาน มาจากภาษาบาลี “สังฆะ” หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ “ทาน”

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้ทานด้วยจิต และเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการถวายทานเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้จัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือให้คณะพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monk Offering หรือ Making Offering to Monk จึงหมายถึง ทานที่ตั้งใจถวายแก่ผู้แทนของหมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง (หากถวายโดยระบุเฉพาะ เรียกว่า ปาฎิปุคลิกทาน) โดยเชื่อว่าการถวายสังฆทานจะได้รับอานิสงส์มากเพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงการกระทำด้วยศรัทธา

ดังนั้น การให้ทาน หรือถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทุกประเภทที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เช่น ส่งเสริมการศึกษา การทำบุญรูปแบบใดก็ได้ ไม่ต้องห่อ หรือใส่ถึงเหลือง ก็ถือเป็นสังฆทานได้ ซึ่งสามารถทำได้ตลอด ไม่ต้องรอโอกาส หรือ เทศกาล รวมถึงการตักบาตรพระสงฆ์ก็ถือเป็นสังฆทานได้เช่นกัน

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

ของที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ นั้นคือปัจจัย 4 อะไรก็ได้ที่เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ โดยผู้จะทำบุญจะต้องมีความตั้งใจในการทำบุญ (ปุพพเจตนา) จึงควรต้องพิจารณาเลือกสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ ซึ่งควรเป็นของที่มีคุณภาพ สามารถใช้ได้จริง หรือเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำเอง หรือ ซื้อหาจากแหล่งต่างๆแบบสำเร็จรูป เช่น ถังเหลือง หรือสามารถจัดของถวายสังฆทานด้วยตัวเองก็ได้ และควรถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล (มุญฺจเจตนา) และเมื่อถวายแล้วกำให้ทำจิตใจเป็นบุญ ให้ยินดีการการทำบุญ ไม่เกิดความเสียดาย (อปราปรเจตนา)

สังฆทานทำเอง คือ การเลือก และจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องไทยธรรม รวมถึงจตุปัจจัยต่างๆที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ด้วยตัวเอง ไม่ได้หาซื้อในลักษณะชุดสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้แล้ว ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือ ห้างร้านต่างๆ โดยสิ่งของทั่วไปที่นิยมนำไปถวายพระสงฆ์ ควรเลือกให้เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ตามวัดที่จะไปทำบุญ โดยการเลือกของถวายพระสงฆ์ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ และคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ควรคำนึงแต่จะถวายให้ได้จำนวนหรือปริมาณมากๆ หรือต้องการถวายพระให้ได้หลายๆรูปและไปลดคุณภาพของสังฆทานลง และควรทำตามกำลังทรัพย์ ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ตัวอย่าง เครื่องไทยธรรมที่นิยมจัดหาไปถวายพระสงฆ์ เช่น

  1. อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องเรียน ซึ่งจะเหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องเรียนพระปริยัตธรรม
  2. มีดโกน และใบมีด สำหรับโกนศีรษะ และมีดโกนหนวด
  3. น้ำยาซักผ้า และผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอดีที่จะนุ่งห่มได้ และเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม เช่น ผ้ามัสลิน
  4. หนังสือธรรมะ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ
  5. รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์
  6. ยาสมุนไพรต่างๆ และยาสามัญประจำบ้าน
  7. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  8. สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ หรือ แม้แต่เครื่องมือช่างที่จะต้องใช้ซ่อมบำรุง เช่น ค้อน ไขควง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แปรงทำความสะอาด เป็นต้น
  9. น้ำปานะ เช่น ชาสมุนไพร
  10. แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร สำหรับพระสงฆ์

พระสงฆ์สามารถใช้สบู่ และยาสระผมได้ แม้อาจจะถูกจัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระสงฆ์สามารถไช้สบู่ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย และใช้ยาสระผม(แชมพู) เพื่อเอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากพระสงฆ์ไม่มีเส้นผมมาปกป้องหนังศีรษะ แชมพูที่ดีจะช่วยช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะไม่ให้เสียไป จึงช่วยลดการระคายเคืองจากความร้อน ฝุ่นละออง ลดการติดเชื้อ และโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ

หลังจากแจ้งพระสงฆ์ว่าจะถวายสังฆทานแล้ว ให้ปฎิบัติดังนี้

1.จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

2.พนมมือและกล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งนโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

3.กล่าวไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

4.สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

5.กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

6.กล่าวคำถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

7.ประเคนของที่นำมาให้พระสงฆ์

8.การกรวดน้ำ

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา อย่างไรก็ตามก็ควรดูกาละเทศะ ความเหมาะสมด้วย นอกจากนี้ หากนำของกินของขบเคี้ยวไปถวาย หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเช้า หรือเพล แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส
เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน

เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส
นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย

เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)

ราคาจัดชุดสังฆทาน 299 บาท สอบถามเพิ่มเติมและสั่งสินค้าได้ทาง