ตามความเชื่อในลักษณะการทำทาน หากนับการให้ทานกับคน ตั้งแต่คนไม่มีศีล จนถึงพระอรหันต์ ย่อมมีอานิสงส์ไม่เท่ากัน สรุปโดยย่อพอสังเขปได้ว่า ถวายทานให้พระอรหันต์ 100 ครั้ง ผลบุญของทานที่เกิดขึ้น ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับการถวายทานแด่พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง และถึงแม้ท่านจะได้ถวายทานให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ผลของบุญนั้นก็ยังไม่เท่ากับการถวายสังฆทาน 1 ครั้ง

การถวายสังฆทานด้วยจิตที่ตั้งมั่นและ บริสุทธิ์ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า แม้เพียง 1 ครั้งในชีวิตที่ได้เกิดมา พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้ จะดลบันดาลให้มีชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดี มีบุญของเกื้อหนุนคำจุน จะไม่ไปเกิดในที่ลำบาก จะไม่เกิดเป็นผู้ขัดสนในทุกด้าน และบุญแห่งการถวายสังฆทานที่ตั้งใจมาดีและถูกต้องแล้วนี้ อานิสงส์จะไม่เคยหมดไป จะยังคงตามส่งผลไปทุกชาติ จนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน …. (โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

เมื่อทราบถึงผลบุญอันยิ่งใหญ่ประมาณการได้เช่นนั้นแล้ว เรามาตั้งใจสร้างบุญใหญ่นี้เพื่ออุทิศกุศลให้ผู้ล่วงลับ อันเป็นที่รักของเราให้ได้รับบุญและมีภพภูมิที่สูงขึ้น และยังมีสิ่งอื่นๆที่พึงกระทำ ดังนี้

  1. ไม่สวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี เพราะผู้ทำกรรมใดไว้ในโลกนี้ ก็ย่อมต้องเสวยผลแห่งกรรมที่ตนทำเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอยู่แล้ว และจิตของเราจะได้ไม่เป็นยึดเหนี่ยว
  2. ทำบุญอุทิศให้ เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้

ควรถวายสังฆทานอุทิศให้กับผู้ล่วงลับเมื่อไหร่

เราในการทำบุญถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับ เราสามารถทำได้ทุกวัน และยังมีวันพิเศษที่ควรทำบุญให้ตามความเชื่อ ได้แก่ วันพระ วันครบรอบวันตาย 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน, และหากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ก็ยังมีการทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุนั้นๆด้วย ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้

2.2.1 วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ: เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้ เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทานเพื่ออุทิศบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ

2.2.2 วันครบรอบวันตาย 7 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทานเพื่ออุทิศบุญแก่ผู้ล่วงลับในวันนี้แช่นกัน

2.2.3 วันครบรอบวันตาย 50 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช

*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้

2.2.3 วันครบรอบวันตาย 100 วัน: ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร ช่วงนี้ถ้าญาติทำบุญตักบาตร หรือถวายสังฆทาน และอุทิศบุญไปให้ก็ยังรับบุญได้

ขั้นตอนการถวายสังฆทานให้ผู้ล่วงลับ

จัดเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ หรือจตุปัจจัยที่จะนำไปถวายตามสมควร โดยไม่ลืมที่จะคำนึงถึง การถวายสังฆทาน ที่จะต้องเป็นไปเพื่อหมู่สงฆ์ ตามความหมายของคำว่า “สังฆทาน” และตามข้อกำหนด ของพระวินัย ว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามต่าง อาทิเช่น สุรา หรือสิ่งเสพติด ในการถวายสังฆทาน ถ้าเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่าสังฆทานสด ต้องนึงถึงประเภทของอาหารตามพระวินัยเช่นกัน และ เลือกให้เหมาะสมกับกาลเวลา คือควรถวายก่อนเพล สังฆทานทั่วไปควรจัด สังฆทานด้วยตนเอง ไม่สมควร ถวายสังฆทานที่จัดสำเร็จรูป เพราะอาจไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพของสิ่งของต่างๆนั้นได้ครบถ้วน ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายในหลายๆด้านตามมา จากสิ่งของที่ไม่ได้คุณภาพ

นำสังฆทานที่จัดเตรียมแล้วไปยังวัดที่ต้องการถวาย จากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบของทางวัด ว่าต้องการมาถวายสังฆทาน แจ้งความประสงค์หรือไปยัง จุดที่ ได้มีการกำหนดไว้แล้วเพื่อการถวายสังฆทาน ของวัดนั้น ซึ่งมีการกำหนดสถานที่ไว้แล้ว

แจ้งต่อท่านถึงความตั้งใจ ที่จะมาถวายสังฆทาน แก่ผู้ล่วงลับ โดยอาจเขียนชื่อและนามสกุลของ พูดล่วงลับ แจ้งกับพระสงฆ์ผู้มารับสังฆทาน เพื่อให้ท่านรับทราบถึงจุดประสงฆ์ของการทำสังฆทานในครั้งนี้ จากนั้นท่านอาจกล่าว ขึ้น เพื่อเรียกขาน วิญญาณผู้ล่วงลับให้มารับทราบ มาเตรียมรับบุญนี้

เริ่มด้วยการ จุดธูปเทียนบูชา กราบพระรัตนตรัย ที่อยู่ในบริเวณที่จะถวายสังฆทานนั้น จากนั้น พระท่านจะให้กล่าวคำอาราธนาศีลและรับศีล โดยว่าตามนี้

  1. คำอาราธนาศีล ๕
    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
  2. สมาทาน ศีล 5
    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
  3. ตั้งนะโม 3 จบ
  4. กล่าวคำถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
    อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    ข้าแต่พระสงฆ์ที่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ โปรดรับ ซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีบิดา มารดาเป็นต้น และขออุทิศให้ (ชื่อของผู้ที่จะอุทิศกุศลให้) สิ้นกาลนานเทอญ
  5. เมื่อกล่าวคำถวายสังฆทานจบแล้ว ให้ยกของทั้งหมดที่เตรียมมาประเคน กับภิกษุสงฆ์
  6. อาจนำชื่อ นามสกุลของผู้เสียชีวิต เผาลงในภาชนะ รองรับ หรือในภาชนะที่จะกรวดน้ำ จากนั้น พระท่านจะสวดบทกรวดน้ำให้เราตั้งใจกรวดน้ำ และส่งผลบุญให้ถึงแก่ผู้ล่วงลับที่เราตั้งใจมาทำสังฆทานให้ในวันนี้
  7. เมื่อกรวดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กราบ 3 ครั้ง ลุกขึ้นนำน้ำที่กรวด ไปเทรดลงบนดินหรือต้นไม้ เลือกเทที่ต้นใหญ่จะยิ่งดี พร้อมทั้งกล่าวอัญเชิญพระแม่ธรณี ,ท่านท้าวเวสสุวรรโณ และปวงเทพเทวา ให้มาเป็นสักขีพยานรับรู้ในการ สร้างและอุทิศบุญครั้งนี้แก่ผู้ล่วงลับ โดยกล่าวหรือละลึกถึงชื่อผู้ล่วงลับที่เราต้องการส่งบุญนี้ให้
  8. นำภาชนะกรวดน้ำเก็บเข้าที่ และกราบลาพระ เป็นอันเสร็จพิธี

การถวายสังฆทานเพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะเห็นได้ว่า พิธีการต่าง ๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถวายสังฆทานทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกัน ตรงที่ คำกล่าวถวายมีการเปลี่ยนคำบางคำไป เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้อง ตามความตั้งใจที่ต้องการถวายสังฆทานแด่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร

คำว่าสังฆทาน มาจากภาษาบาลี “สังฆะ” หมายถึง หมู่แห่งภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ “ทาน”

ดังนั้น สังฆทาน คือ การให้ทานด้วยจิต และเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการถวายทานเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้จัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือให้คณะพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

สังฆทาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monk Offering หรือ Making Offering to Monk จึงหมายถึง ทานที่ตั้งใจถวายแก่ผู้แทนของหมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง (หากถวายโดยระบุเฉพาะ เรียกว่า ปาฎิปุคลิกทาน) โดยเชื่อว่าการถวายสังฆทานจะได้รับอานิสงส์มากเพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงการกระทำด้วยศรัทธา

ดังนั้น การให้ทาน หรือถวายความอุปถัมภ์แก่สงฆ์ ทุกประเภทที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เช่น ส่งเสริมการศึกษา การทำบุญรูปแบบใดก็ได้ ไม่ต้องห่อ หรือใส่ถึงเหลือง ก็ถือเป็นสังฆทานได้ ซึ่งสามารถทำได้ตลอด ไม่ต้องรอโอกาส หรือ เทศกาล รวมถึงการตักบาตรพระสงฆ์ก็ถือเป็นสังฆทานได้เช่นกัน

สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)

ของที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ นั้นคือปัจจัย 4 อะไรก็ได้ที่เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ โดยผู้จะทำบุญจะต้องมีความตั้งใจในการทำบุญ (ปุพพเจตนา) จึงควรต้องพิจารณาเลือกสิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ ซึ่งควรเป็นของที่มีคุณภาพ สามารถใช้ได้จริง หรือเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำเอง หรือ ซื้อหาจากแหล่งต่างๆแบบสำเร็จรูป เช่น ถังเหลือง หรือสามารถจัดของถวายสังฆทานด้วยตัวเองก็ได้ และควรถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล (มุญฺจเจตนา) และเมื่อถวายแล้วกำให้ทำจิตใจเป็นบุญ ให้ยินดีการการทำบุญ ไม่เกิดความเสียดาย (อปราปรเจตนา)

สังฆทานทำเอง คือ การเลือก และจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องไทยธรรม รวมถึงจตุปัจจัยต่างๆที่จะนำไปถวายพระสงฆ์ด้วยตัวเอง ไม่ได้หาซื้อในลักษณะชุดสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้แล้ว ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือ ห้างร้านต่างๆ โดยสิ่งของทั่วไปที่นิยมนำไปถวายพระสงฆ์ ควรเลือกให้เหมาะกับกิจวัตรของพระสงฆ์ตามวัดที่จะไปทำบุญ โดยการเลือกของถวายพระสงฆ์ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ และคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ควรคำนึงแต่จะถวายให้ได้จำนวนหรือปริมาณมากๆ หรือต้องการถวายพระให้ได้หลายๆรูปและไปลดคุณภาพของสังฆทานลง และควรทำตามกำลังทรัพย์ ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ตัวอย่าง เครื่องไทยธรรมที่นิยมจัดหาไปถวายพระสงฆ์ เช่น

  1. อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องเรียน ซึ่งจะเหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องเรียนพระปริยัตธรรม
  2. มีดโกน และใบมีด สำหรับโกนศีรษะ และมีดโกนหนวด
  3. น้ำยาซักผ้า และผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอดีที่จะนุ่งห่มได้ และเลือกเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม เช่น ผ้ามัสลิน
  4. หนังสือธรรมะ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ
  5. รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์
  6. ยาสมุนไพรต่างๆ และยาสามัญประจำบ้าน
  7. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  8. สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ หรือ แม้แต่เครื่องมือช่างที่จะต้องใช้ซ่อมบำรุง เช่น ค้อน ไขควง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แปรงทำความสะอาด เป็นต้น
  9. น้ำปานะ เช่น ชาสมุนไพร
  10. แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร สำหรับพระสงฆ์

พระสงฆ์สามารถใช้สบู่ และยาสระผมได้ แม้อาจจะถูกจัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระสงฆ์สามารถไช้สบู่ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย และใช้ยาสระผม(แชมพู) เพื่อเอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากพระสงฆ์ไม่มีเส้นผมมาปกป้องหนังศีรษะ แชมพูที่ดีจะช่วยช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะไม่ให้เสียไป จึงช่วยลดการระคายเคืองจากความร้อน ฝุ่นละออง ลดการติดเชื้อ และโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ

หลังจากแจ้งพระสงฆ์ว่าจะถวายสังฆทานแล้ว ให้ปฎิบัติดังนี้

1.จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะ สีลานิยาจามะ

2.พนมมือและกล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งนโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

3.กล่าวไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

4.สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

5.กล่าวคำนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

6.กล่าวคำถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยังภันเต ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ธัมมัตถะปัณณานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ..(สิ่งที่นำมาถวาย เช่น ภัตตาหาร)..พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

7.ประเคนของที่นำมาให้พระสงฆ์

8.การกรวดน้ำ

การถวายสังฆทานนั้นสามารถกระทำเวลาไหนก็ได้ ไม่เลือกเวลา อย่างไรก็ตามก็ควรดูกาละเทศะ ความเหมาะสมด้วย นอกจากนี้ หากนำของกินของขบเคี้ยวไปถวาย หากต้องการให้พระฉันเลยในวันนั้น ก็ควรไปก่อนเวลาฉัน ไม่ว่าจะเป็นเช้า หรือเพล แต่หากนำอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ จะไปหลังเที่ยงวันก็ได้ ไม่เป็นไร

ทำไมต้องจัดของถวายสังฆทานเอง

หลายท่านคงอาจจะมีคำถามว่าเดี๋ยวนี้เกือบทุกวัดใหญ่ๆที่มีผู้คนนิยมแวะเวียนกันไปทำบุญก็มี “ถังเหลือง” เตรียมไว้ให้พร้อมบริการอยู่แล้ว แล้วจะต้องเสียเวลาจัดเตรียมเองไปทำไม เอาสะดวกไม่ดีกว่าเหรอ หรือ เราไปซื้อชุดสังฆทานแบบสำเร็จรูปตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือในห้างไปทำบุญก็ได้ ?

….. การทำบุญตามสะดวกตามกำลังนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีแน่นอนครับ แต่หากเราต้องการให้เกิดประโยชน์ ได้รับอานิสงส์สูงสุด (บางท่านอาจใช้คำว่าได้บุญมาก) เราก็ควรพิจารณาเลือกถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้จริงมันก็คงจะดีกว่า เพราะว่าของในถังเหลืองนั้นมักจะเป็นของทั่วๆไปซึ่งพระสงฆ์อาจจะไม่ได้มีโอกาสนำไปใช้จริงๆเลยก็ได้

เราควรพิจารณาเลือกสิ่งของไปถวายพระสงฆ์เอง โดยคำนึงว่าพระสงฆ์ ณ วัดแห่งนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้จริง และคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ

ไอเดียจัดชุดสังฆทานทำเอง มีอะไรบ้าง

การจัดเครื่องไทยธรรมไปถวายพระสงฆ์อย่างแรกเลยควรนึกถึงสถานที่นั้นๆก่อนว่าเป็นอย่างไร เช่น อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือ อยู่ในพื้นที่ใกล้ความเจริญ เพราะเราจะได้เลือกเครื่องอุปโภคบริโภคได้อย่างเหมาะสมกับกิจวัตรของพระสงฆ์ ณ วัด, สำนักสงฆ์, สถานที่ปฎิบัติธรรม นั้นๆ ดังนั้น ในการจัดชุดสังฆทานเองเพื่อถวายพระสงฆ์ มีหลักการอยู่แค่ 2 อย่าง นั่นคือ พระสงฆ์สามารถนำเครื่องไทยธรรม หรือปัจจัยที่เราจะนำไปถวายไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ และ กำลังทรัยพ์ของเรานั่นเอง ตัวอย่างเช่น

ชุดสังฆทานไม่เกิน 300 สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สูตรไม่ผิดพระวินัย

โดยกิจวัตรของพระสงฆ์แล้ว ควรใช้สบู่และแชมพูสมุนไพร ที่เป็นสบู่น้ำมัน ซึ่งต่างจากที่วางขายกันอยู่ทั่วไปตามห้างร้าน

สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน
เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560
ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)



แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย
เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020
ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)

ราคาจัดชุดสังฆทาน 299 บาท

สั่งซื้อได้ทางช่องทางต่างๆ

Line@

สนับสนุนโดย

สบู่สมุนไพร & แชมพูสมุนไพร ตราโสฬส


สำหรับ ถวายสังฆทาน

โสฬส (อ่านว่า โส-ลด) หมายถึง พรหมโลก 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพชั้นรูปพรหม ถือกันว่าเป็นที่อันบรมสุข

แชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย


เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020

ราคาพิเศษ 189 บาท

สบู่สมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน

สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน


เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560

ราคาพิเศษ 129 บาท

สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ

“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”

วิธีจัดสังฆทานด้วยตัวเอง โดยใช้ “ถุงห่อสังฆทาน”

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการสาธิตการจัดเครื่องไทยธรรม ซึ่งประกอบไปด้วย สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร ยาสีฟันสมุนไพร แปรงสีฟัน ที่โกนหนวด และเตรียมถุงห่อสังฆทาน จากนั้นเราแค่นำไปใส่ถุงจัดเรียงให้สวยงาม และรูดโบว์ที่ปากถุงก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จะเห็นว่าไม่ได้ยุ่งยากและเสียเวลาอะไรเลยนะครับ

สบู่ & แชมพู สมุนไพร
ที่เหมาะกับกิจวัตรของสงฆ์

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะ ของพระภิกษุสงฆ์จากอาการผิวแห้ง และอาการคัน เหมาะกับกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดด และสัมผัสกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”

“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ

การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร

1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย

2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก

@solot

ร่วมสนับสนุนเรา เช่นเดียวกับลูกค้าท่านอื่น
กว่า 49,000 คน

วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
ถวายสังฆทาน

เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี

มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

เพื่อถวายพระสงฆ์

เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้

แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา

- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ

ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393

@solot