ก่อนอื่นเลย โสฬส ต้องขอร่วมอนุโมทนาในจิตอันเป็นกุศลของท่านทั้งหลาย เพราะว่าแค่คุณคลิกเข้ามาอ่าน จิตของคุณได้นึกถึงสิ่งดีงาม ก็ถือเป็นกุศลแล้ว
หลายท่านอาจมีข้อสงสัย ว่า ของถวายสังฆทาน มีอะไรบ้าง จะเตรียมเป็น สังฆทานสด ไปถวายพระดีไหม และควรไปถวายสังฆทานกี่โมง” …วันนี้โสฬส จะพามาหาคำตอบด้วยกัน
สังฆทาน คือ การนำสิ่งของที่เป็นจตุปัจจัยต่างๆ หรือสิ่งที่เห็นสมควรตามความเหมาะสมเพื่อการดำเนินชีวิตไปถวายพระสงฆ์ โดย ตั้งใจถวายไว้เป็นส่วนรวมเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องการให้สงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง
วันนี้คุณเลือกของอย่างไร เพื่อ
“ถวายสังฆทาน“
เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้
ชุดสังฆทานไม่เกิน 300
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สูตรไม่ผิดพระวินัย โดยกิจวัตรของพระสงฆ์แล้ว ควรใช้สบู่และแชมพูสมุนไพร ที่เป็นสบู่น้ำมัน ซึ่งต่างจากที่วางขายกันอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทาน
สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส เหมาะแก่การถวายเป็นสังฆทาน ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน
ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)
แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส นอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับการปลงผมได้ด้วย
ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)
ราคาโปรโมชั่น สำหรับสังฆทาน 299 บาท
ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”
“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ
การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร
1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย
2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก
ทำไมต้องจัดของถวายสังฆทานเอง
หลายท่านคงอาจจะมีคำถามว่าเดี๋ยวนี้เกือบทุกวัดใหญ่ๆที่มีผู้คนนิยมแวะเวียนกันไปทำบุญก็มี “ถังเหลือง” เตรียมไว้ให้พร้อมบริการอยู่แล้ว แล้วจะต้องเสียเวลาจัดเตรียมเองไปทำไม เอาสะดวกไม่ดีกว่าเหรอ หรือ เราไปซื้อชุดสังฆทานแบบสำเร็จรูปตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือในห้างไปทำบุญก็ได้ ?
….. การทำบุญตามสะดวกตามกำลังนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีแน่นอนครับ แต่หากเราต้องการให้เกิดประโยชน์ ได้รับอานิสงส์สูงสุด (บางท่านอาจใช้คำว่าได้บุญมาก) เราก็ควรพิจารณาเลือกถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้จริงมันก็คงจะดีกว่า เพราะว่าของในถังเหลืองนั้นมักจะเป็นของทั่วๆไปซึ่งพระสงฆ์อาจจะไม่ได้มีโอกาสนำไปใช้จริงๆเลยก็ได้
เราควรพิจารณาเลือกสิ่งของไปถวายพระสงฆ์เอง โดยคำนึงว่าพระสงฆ์ ณ วัดแห่งนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้จริง และคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ
ไอเดียจัดชุดสังฆทานทำเอง มีอะไรบ้าง
การจัดเครื่องไทยธรรมไปถวายพระสงฆ์อย่างแรกเลยควรนึกถึงสถานที่นั้นๆก่อนว่าเป็นอย่างไร เช่น อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือ อยู่ในพื้นที่ใกล้ความเจริญ เพราะเราจะได้เลือกเครื่องอุปโภคบริโภคได้อย่างเหมาะสมกับกิจวัตรของพระสงฆ์ ณ วัด, สำนักสงฆ์, สถานที่ปฎิบัติธรรม นั้นๆ ดังนั้น ในการจัดชุดสังฆทานเองเพื่อถวายพระสงฆ์ มีหลักการอยู่แค่ 2 อย่าง นั่นคือ พระสงฆ์สามารถนำเครื่องไทยธรรม หรือปัจจัยที่เราจะนำไปถวายไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ และ กำลังทรัยพ์ของเรานั่นเอง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ไอเดียจัดชุดสังฆทาน
ของถวายสังฆทาน
ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน เราก็ควรให้อย่างสัตบุรุษ คือยึดหลักธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสทาน 8 ได้แก่
1. ให้ของสะอาด: เลือกสิ่งที่บริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต
2. ให้ของประณีต: ให้ของที่ดี ตามกำลังศรัทธา อย่างรู้จักประมาณ
3. ให้ถูกเวลา: เช่น การถวายภัตตาหารพระก่อนเวลาเพลเท่านั้น ถ้าจะถวายหลังเวลาเที่ยงไปแล้วก็อาจจะถวายเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ธูปเทียน น้ำปานะต่าง ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระวินัย
4. ให้ของที่สมควรแก่ผู้รับจะนำไปใช้ได้: เช่นถ้าจะถวายสังฆทาน ก็ควรถวายของที่สมควรแก่พระ ไม่ใช่สุรา ยาเสพติด เครื่องประดับตกแต่ง บางคนคิดว่าจะถวายสังฆทานอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ ก็ต้องนำของที่ผู้ล่วงลับชอบใจหรือใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ นี่เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะของเหล่านั้นถวายแก่พระ ไม่ใช่การทำพิธีให้ของนั้นล่องลอยไปสู่ผู้ล่วงลับ บุญเกิดจากการให้ มิใช่อยู่ที่ตัวสิ่งของ
5. ให้ด้วยวิจารณญาณให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก: ของที่จะให้เป็นทานจะมีราคาสูงหรือ ต่ำไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ควรเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้จริง การจัดหาของน้อยชิ้นที่ใช้งานได้ อาจจะดีกว่าการจัดของสารพัดอย่างลงในถังให้ดูครบครันแต่นำมาใช้ หรือแม้แต่จะจัดเก็บก็ยากลำบาก
6. ให้ประจำสม่ำเสมอ
7. เมื่อให้ ทำจิตให้ผ่องใส
8. ให้แล้วเบิกบานใจ: ไม่คิดกังวลว่าผู้รับจำใช้หรือไม่ จะยินดีแค่ไหน เมื่อให้ไปแล้วก็ไม่ยึดถือเป็นของเรา ตัวเราต่อไปอีก
เมื่อทำได้ดังนี้ หรือฝึกฝนที่จะทำเช่นนี้ ก็ชื่อว่าได้ “ให้อย่างผู้มีปัญญา” เป็นการให้ที่มีประโยชน์ มีอานิสงส์มาก มีอานิสงส์ใหญ่ น่าอนุโมทนาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
“ พระพุทธพจน์ “
เย นํ ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺนํ ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
บุคคลเหล่าใดมีใจผ่องใส ย่อมให้ข้าวด้วยศรัทธา
บุคคลเหล่านั้นย่อมได้ข้าวนั้นเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉรํ
ทชฺชา ทานํ มลาภิภู
ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย แล้วให้ทาน
บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
สำหรับชุดสังฆทานที่ว่า หากเรานำมาจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวก และความเข้าใจ จะแบ่งออกดังนี้
1. ของรับประทาน คือ อาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งแยกย่อยออกเป็น
• สังฆทานสด
อาหารเพื่อถวายเป็นสังฆทานสดในที่นี่หมายถึง อาหารปรุงสุก พร้อมรับประทาน อาทิเช่น ข้าวสวย,
ข้าวผัด, แกงเผ็ด, แกงจืด, น้ำพริก, ผักต้ม, ไก่ย่าง, ข้าวปั้น, พร้อมเครื่องเคียงต่างๆ, ผลไม้, ขนมหวาน และ เครื่องดื่ม อาทิเช่น น้ำเปล่า, นม, นมถั่วเหลือง, น้ำหวาน, น้ำชากาแฟ หรือน้ำผลไม้ ถ้าเคื่องดื่มดังกล่าวมาในรูปแบบกระป๋องหรือกล่อง เมื่อถวายเป็นสังฆทานสดควรเปิดบรรจุภัณท์นั้นให้พร้อมดื่มทันที
• สังฆทานอาหารทั่วไป
หรือในรูปแบบอาหาร เก็บรักษาง่าย เก็บได้เป็นระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน อาทิ ข้าวสาร, เมล็ดธัญพืชเพื่อปรุงอาหาร น้ำปลาหรือเครื่องปรุง, กุ้งแห้ง, น้ำตาล, เกลือ, อาหารบรรจุกระป๋องต่างๆ, และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น เครื่องดื่ม ชา, กาแฟ, นม, นมถั่วเหลือง, ไมโล, โอวัลติน, น้ำหวาน, น้ำผลไม้, ในรูปแบบกระป๋องหรือกล่องที่ยังไม่ถูกเปิด สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลานาน
*โดยข้าวสาร, อาหารแห้ง, อาหารกระป๋อง, สามารถถวายในรูปแบบเป็นสังฆทานให้พระท่าน จากนั้นพระหรือเจ้าหน้าที่วัดที่เกี่ยวข้องจะส่งต่อเพื่อจัดเก็บเข้าโรงครัวของวัด เพื่อนำไปประกอบอาหารเพื่อสงฆ์ ญาติโยมที่มาประกอบกิจต่างๆในวัด หรือเพื่อผู้มาพักอาศัยในวัด อาทิ เนกขัมมะ หรือ ไม่ถวายเป็นสังฆทาน แต่บริจาคเข้าโรงครัวโดยตรง ก็ถือว่าได้บุญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และในปัจจุบันมีการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการถวายอาหารกระป๋อง เนื่องจาก อาจเกิดการสะสมสารกันบูดจนก่อเกิดโรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพสงฆ์ได้
2. ของใช้ ที่พระสงฆ์มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
• บาตร
• ตาลปัตร
• เครื่องนุ่งห่ม คือ ผ้าไตรจีวร อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า), อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม), และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) และประคดเอว (ผ้ารัดเอว)
• ชุดของใช้ส่วนตัว สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, มีโกน, กรรไกรตัดเล็บ, ที่นอน, ผ้าปูที่นอน, หมอน, ปลอกหมอน, ผ้าห่ม, ผ้าเช็ดตัว, รองเท้าแตะ
• ชุดซักล้าง ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักผ้า, น้ำยาปรับผ้านุ่ม(ช่วยให้ผ้าทิ้งตัวไม่ยับ ประหยัดเวลารีด)
• ชุดทำความสะอาด เช่น ไม้กวาด, ไม้ถู, น้ำยาขัดล้างพื้นห้องน้ำ, น้ำยาล้างจาน
• ชุดยา อาทิ ยาแก้ไข, ยาแก้ปวดแก้เมื่อย, ผงเกลือแร่, ยาแก้ไอ, ยาเคลือบกระเพาะ (อาจจำเป็นสำหรับพระบวชใหม่ ที่พึ่งเริ่มงดอาหารมื้อเย็น)หรือยาทาสำหรับใช้ภายนอก เช่น อุปกรณ์ทำแผล (พลาสเตอร์ยา แอลกอฮอล์ หรือน้ำเกลือล้างแผล เทปติดแผล เบตาดีน สำลี)
• ชุดงานซ่อมแซมบำรุงเครื่องมือช่าง ไขควง เลื่อย ค้อน ตะปู สว่าน บันไดงานช่าง
• เครื่องเขียน สมุด ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด สก็อตเทป
• เสื่อ เครื่องปูลาด เพื่อใช้ประโยชน์ในวัด
• พระพุทธรูป และ สิ่งของเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์
• สิ่งของอื่นๆในวัดที่พระสงฆ์สามารถใช้ร่วมกน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม ร่ม ฯลฯ
วิธีเลือกของถวายสังฆทาน จัดชุดสังฆทานถวายพระสงฆ์
การเลือกซื้อของถวายสังฆทาน สามารถซื้อแบบสำเร็จรูปที่มีวางขายกันอยู่ทั่วไป หรือ สามารถจัดชุดสังฆทานทำเองก็ได้ (ชุดสังฆทานทำเอง คือ สิ่งของต่างๆที่เราจัดหาหรือจัดซื้อด้วยตนเองทีละชิ้น เพื่อจัดเป็นชุดสังฆทาน) โดยประการแรก คงต้องพิจรณาจากงบประมาณตนเองเป็นหลัก จากนั้นอาจดูความเหมาะสมต่างๆ เช่นที่ตั้งของวัด หรือสามารถสอบถามจากเจ้าหน้าที่วัด ถึงสิ่งของที่ขาดแคลน หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อให้สิ่งของเหล่านั้น เกิดประโยชน์สูงสุดในทันทีหรือในเวลาอันรวดเร็ว หรืออาจจัดเตรียมสิ่งของที่มักใช้แล้วหมดไป อาทิเช่น ชุดของใช้ส่วนตัว, ชุดซักล้า ชุดทำความสะอาด เป็นต้น และต้องไม่ลืมดูคุณภาพ สภาพภายนอก วันหมดอายุ ของสิ่งของต่างๆก่อนนำไปถวาย สุดทายนั้น ผู้ถวายต้องไม่ลืมเตรียมตัว เตรียมใจ ถวายสังฆทานด้วยจิตใจที่ผ่องใส
การถวายสังฆทานนั้น ไม่จำเป็นต้องนำสิ่งของไปใส่ถังสีเหลือง หรือ ห่อด้วยถุงตาข่ายแล้วนำไปถวายแก่พระสงฆ์ แม้จะกล่าวคำถวาย หรือไม่กล่าวคำถวายสังฆทานก็ได้ โดยอาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น
ควรไปถวายสังฆทานกี่โมง
เวลาที่เหมาะสมในการถวายสังฆทานขึ้นกับช่วงเวลาและลักษณะสิ่งของที่นำไปถวายพระสงฆ์ เช่น สังฆทานสด(ของกิน) ควรถวายก่อนเพลของวันนั้นๆ เพื่อให้พระท่านได้ฉันตามเจตนารมณ์ผู้ถวายได้ทันในเวลาที่เหมาะสม และอาหารนั้นๆยังคงสดใหม่ มีคุณค่า ไม่ควรเก็บรักษาหรือแช่เย็นข้ามวัน สังฆทานทั่วไป ที่ไม่ใช่อาหาสด สามารถที่จะถวายในช่วงเวลาระหว่างวันได้ แต่ก็ต้องไม่ตรงกับเวลาทำวัตร หรือ ติดกิจของสงฆ์ สรุปไว้ดังนี้
1. สิ่งของที่ประเคนพระได้ในเวลาช่วง ”เช้าถึงเที่ยง”
ได้แก่อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท ( หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวาย ในเวลาหลังเที่ยงแล้วไม่ต้อง ประเคน เพียงแต่แจ้งให้พระรับทราบแล้วมอบให้ศิษย์ เก็บรักษาไว้เพื่อจัดนำมาถวายในวันต่อไป )
2. สิ่งของที่ประเคนพระได้ “ตลอดเวลา”
ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยารักษาโรค และประเภท เภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู ฯลฯ หรือสิ่งของไม่ใช่สำหรับขบฉัน
ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร
ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร
ตัวอย่าง คำถวายสังฆทาน (งานมงคล)
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
อาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปะฏิสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะมังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปะฏิสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะมังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปะฏิสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะมังคะลัง
คำถวายข้าวพระพุทธ
อิมัง, สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง, สาลีนัง , โภชะนัง , สะอุทะกัง วะรัง, พุทธัสสะ, ปูเชมิ
คำถวายสังฆทาน
(ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกัน)
อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมถวาย ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร พร้อมบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่ญาติมิตร ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.
แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา
- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ
ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393