สังฆทานสด คืออะไร
สังฆทานสด หมายถึง การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์นั่นเอง เป็นการถวายสังฆทานด้วยอาหารคาวหวาน น้ำ แด่หมู่สงฆ์ โดยของที่เราถวายไป พระท่านได้ใช้ หรือฉันทันที เพราะเป็นอาหารปรุงสด ไม่สะดวก หรือไม่สามารถเก็บรวมไว้ใช้ที่หลัง เมื่อถวาย พระท่านจะรับและฉันเลย ถ้าทำแล้วอุทิศให้ญาติที่ล่วงลับก็เชื่อว่าจะสามารถรับบุญและ มีภพภูมิที่ดีขึ้นในทันที เสมือนเพื่อให้ได้มีชีวิตอยู่ ประกอบกิจในพระพุทธศาสนา
สังฆทานสดไม่จำเป็นต้องไปทำที่วัด ถ้าเรามีเวลาน้อย ก็ทำกับพระที่กำลังบิณฑบาตอยู่ก็ได้ ให้บอกกับท่านว่า เราจะทำสังฆทาน ท่านจะให้พรตอนนั้นหรือไม่ก็แล้วแต่ ไม่ต้องกังวล ถ้าให้พรเราก็กรวดน้ำไป ถ้าไม่ให้พรตอนนั้น เราค่อย กรวดน้ำทีหลัง หรือไม่กรวดก็ยังได้
ส่วนสังฆทานที่เป็นถัง เป็นของแห้ง เป็นของใช้ มีผู้คนนำมาถวายทุกวัน อาจมีมากมายจนไม่ถูกนำมาใช้ หรือต้องรอเป็นระยะเวลาอีกนานกว่าพระท่านจะนำมาออกมาใช้ หรือบางครั้งก็เอาไปขาย บางครั้งก็เอาไปทำเป็นสังฆทานเวียนกลับมาทำใหม่ทั้งในวัดหรือนอกวัด กลายเป็นว่า วิณญานที่รอ ก็ไม่ได้ของ ไม่ได้บุญที่เราทำให้ หรือว่าจะได้ก็ช้า ทำให้ได้ผลช้า เมื่อเชื่อกันเช่นนั้นแล้ว จึงนิยมที่จะถวายสังฆทานสดมากกว่าสังฆทานสิ่งของที่ทำทั่วไป
อาหารที่นำมาประเคนควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ มีประโยชน์ตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ และอานิสงค์ผลบุญของผู้ถวาย… ซึ่งจากข้อมูลกรมการแพทย์ ปี 2559 พบว่า พระสงฆ์-สามเณรอาพาธมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน,โรคไตวายเรื้อรัง และโรคข้อเข่าเสื่อม…โดยสาเหตุของการเกิดโรคส่วนใหญ่มาจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งพระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตร หรือนำอาหารมาถวาย ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุ ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค
ตัวอย่างการจัดชุดสังฆทานสด ที่ราคาต่างๆ
การถวายสังฆทานสด ขึ้นอยู่ปัจจัยและงบประมาณ หากเราไม่สะดวก ก็ทำกับพระที่กำลังบิณฑบาตอยู่ก็ได้ตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น… ซึ่งราคามีตั้งแต่หลักสิบ ถึง หลักร้อย แต่ ถ้าหากเราสะดวกจัดแบบโตก ก็มีตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพัน เช่นราคา 400 บาท ต่อ 1 ที่ ก็จะประกอบไปด้วย ข้าวสวย, อาหารคาว 5 ชนิด, ขนมหวาน 1 ชนิด, ผลไม้, น้ำแข็ง, น้ำเปล่าบรรจุขวด ซึ่งในปัจจุบันสะดวกและง่ายมาก เนื่องจากมีร้านอาหารบริการในการจัดเตรียมภัตตาหาร เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ มีเมนูให้เลือกหลากหลาย รวมทั้งเมนูเพื่อสุขภาพด้วย
** อาบัติปาจิตตีย์ ตาม พระไตรปิฎก สิกขาบทที่ ๗ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
“ ห้ามฉันอาหารในเวลาวิการ “ ภิกษุพวก ๑๗ ฉันอาหารในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันอาหารในเวลาวิกาล (ตั้งแต่เที่ยงไปจนรุ่งอรุณ)
ในอดีตกาล ความเชื่อและถือปฏิบัติสืบทอด ต่อกันมา ในส่วนของการเตรียมอาหารเพื่อตักบาตร หรือถวายเป็นสังฆทานสด โดยที่ข้าวและอาหารที่คฤหัสถ์ผู้เตรียมจะนำมาถวายนั้น นิยมเป็นข้าวปากหม้อและกับข้าวปากหม้อ คือเป็นสิ่งที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ได้ตัดออกไปเพื่อบริโภคหรือใช้อย่างอื่น ส่วนกับข้าวที่ปรุงหากเป็นเนื้อสัตว์ไม่ควรฆ่าเพื่อถวายพระ และไม่สมควรถามพระภิกษุท่าน ว่าชอบอาหารชนิดใด ชอบอาหารที่ถวายหรือไม่เพราะเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ดังคำกล่าวที่ว่า “ตักบาตรอย่าถามพระ” นอกจากนี้ ยังมีพระวินัยบางข้อที่ควรทราบ ในการถวายภัตตาหาร หรือสังฆทานสดแด่พระสงฆ์ ดังนี้
- การถวายผัก ผลไม้บางประเภท | สำหรับผักหรือผลไม้ที่จะถวายพระ ในอดีตมีความเชื่อว่า ต้นไม้มีชีวิต คือเป็นสิ่งที่เติบโตงอกงาม ออกลูก ออกผลได้ เพราะฉะนั้น เมื่อพระภิกษุ ท่านจะรับอาหาร ที่เป็นผัก หรือผลไม้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิต มีเมล็ดแก่ ที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้ อย่างส้ม แตงโม มะเขือสุก หรือมีส่วนอื่นที่นำไปปลูกได้ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ราก หัวก็ดี เช่น ผักบุ้ง ใบโหรพา หัวหอม จะต้องทำวินัยกรรมที่มักเรียกว่า “กัปปิยะ” เสียก่อน พระท่านจึงจะฉันได้ หากไม่ทำกัปปิยะ ก่อนแล้ว พระฉันเข้าไปจะเป็นอาบัติทุกกฎ
วิธีการปฏิบัติ โดยการนำผักหรือผลไม้ที่ต้องทำกัปปิยะ มาวางตรงหน้าพระ แล้วพระท่านจะถามว่า “กัปปิยัง กโรหิ” แปลว่า “ทำให้สมควรแล้วหรือ”โยมหรือเณรใช้เล็บหรือมีดเด็ดหรือตัดพืชนั้นเพียง 1 ต้นหรือ 1 ผล ให้ขาดออกจากกัน พร้อมกับพูดว่า “กัปปิยังภันเต หรือ กัปปิยะ ภันเต” แปลว่า “ทำให้สมควรแล้ว”
การทำกัปปิยะกับพืชหรือผลไม้เพียงต้นเดียว หรือลูกเดียวจะมีผลทำให้พระฉันพืชหรือผลนั้นได้ทั้งจานหรือทั้งถาด นอกจากพิธีการกล่าว กัปปิยะ แล้ว วิธีการที่จะสามารถทำให้ผลไม้เหล่านั้น สมควรแก่การถวาย พร้อมกับการทำกัปปิยะที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คือ การทำสมณกัปปะ ซึ่ง มี 5 อย่าง หรือ 5 วิธี นั่นเอง เราเรียกวิธีนี้ว่า วิธีการทำการทำสมณกัปปะ ต่ออาหารหรือผลไม้ต่างๆ ให้สมควรแก่การที่ภิกษุจะถือเอามาฉันได้ ซึ่ง สมณกัปปะ 5 อย่าง ได้แก่
- ผลไม้ที่จี้ด้วยไฟ
- ผลไม้ที่กรีดด้วยมีด
- ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
- ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
- ผลไม้ที่ปลิ้นเมล็ดออกได้
เมื่อผัก หรือผลไม้ดังกล่าวกระทำถูกต้องตามนั้นแล้ว ก็ให้ถือว่า ไม่ผิดต่อพระวินัย พระท่านสามารถฉันได้ตามปรกติ แต่เราอาจจะสังเกตเห็นได้ว่า การประพฤติวินัยเกี่ยวกับการทำกัปปิยะในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีให้เห็น หรือจะเห็นได้บ้างก็เฉพาะ พระที่ยังคงใคร่ศึกษาพระวินัย หรือยังคงเคร่งในพระวินัย ในบางแห่งเท่านั้น
ในพระทั่วๆไป เราแทบจะไม่ได้เห็นแล้ว อาจเป็นเพราะไม่รู้, ลืมเลือน หรือคิดว่าเป็นเรื่องปลีกย่อยไม่สะดวกบนความเร่งรีบของสังคมในปัจจุบัน คิดว่า จะเป็นการสร้างความลำบากต่อญาติโยม ผู้ถวาย และหรือผู้ถวายเองก็ขาดความรู้ความเข้าใจในพระวินัยข้อนี้ จึงไม่ใคร่เห็น เนื่องจากมีการละเว้นการปฏิบัติในเรื่องนี้ไป
- การถวายเนื้อสัตว์ | อาหารเพื่อถวายพระอีกประเภท ที่ ก็ยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาจเนื่องด้วยความเคร่งในการคำสอนข้อห้าม หรือความไม่นิยม ก็แล้วแต่ ในส่วนเนื้อสัตว์ พระวินัยกล่าวไว้ตามนี้ เนื้อสัตว์ที่จะนำมาถวาย จะต้องไม่เป็นเนื้อสัตว์ที่ฆ่าเพื่อถวายโดยเฉพาะ และต้องไม่เป็นเนื้อสัตว์ 10 ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงห้ามพระภิกษุฉัน อันได้แก่
- เนื้อมนุษย์
- เนื้อช้าง
- เนื้อม้า
- เนื้อสุนัข
- เนื้อวัว
- เนื้องู
- เนื้อราชสีห์
- เนื้อเสือโคร่ง
- เนื้อเสือเหลือง
- เนื้อหมี
- เนื้อเสือดาว
รวมถึงการถวาย เนื้อดิบในรูปแบบ หมูกระทะ ชาบู สุกี้ ที่เป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน และแม้แต่ไข่ไก่ดิบ ถือเป็นการไม่สมควรในการถวายเป็นสังฆทานสดแด่พระสงฆ์ จะทำให้เป็นอาบัติทุกกฎ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงไม่อณุญาติให้ภิกษุปรุงอาหารเอง ภิกษุสมควรต้องเป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย
ของถวายสังฆทานสดที่นิยมทำกันในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง
- ดอกไม้ให้ครบสามสี (ห้ามดอกกุหลาบ ดอกเข็ม เพราะว่ามีหนาม เปรียบเหมือนเข็มที่ทิ่มแทง จะใช้ดอกไม้นี้สำหรับงานไหว้ครู จะได้มีสติปัญญาเฉียบแหลม สำหรับสังฆทานห้าม)
- ธูป เทียน
- น้ำเปล่า น้ำปรุงแต่ง
- กับข้าว 5 อย่างไม่ซ้ำกัน บรรจุแยกภาชนะ
- ขนมหวาน หรือผลไม้รวมกันให้ครบ 5 อย่าง
- ข้าวสวย
- ปัจจัย (เงิน) เกินอายุ ไม่ต่ำกว่า 1 บาท (เป็นการค้ำอายุ)
- ทำให้ตรงกับวันเกิดของเราในรอบสัปดาห์ เช่น เกิดวันอาทิตย์ ก็ให้ทำตรงกับวันอาทิตย์
การถวายสังฆาน ควรทำบ่อยแค่ไหน
ควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือมากน้อยตามแต่โอกาส โดยเราจะต้องไม่เดือดร้อนเบียดเบียนตนเองหรือผู้ใด ในส่วนของเงินที่ใช้จัดซื้อของสังฆทาน ไม่ใช่ทำแล้วไม่เหลือเงิน หรือต้องหยิบยืมมา ถ้าเป็นเช่นนั้น ถือเป็นการเบียดเบียนตัวเราเองจนทำให้เกิดทุกข์ ควรพร้อมทั้งกายใจ และกำลังทรัพย์ ถ้าถวายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในรูปแบบ เครื่องกระป๋อง ต้องเปิดกระป๋องให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงถวาย เช่น ปลากระป๋อง เงาะไส้สับประรสกระป๋อง น้ำอัดลมกระป๋อง การทำสังฆทานสด ต้องทำก่อนเพล (เที่ยง) เพราะพระรับแล้วฉันท์ได้แค่เพลเท่านั้น
เมื่อตั้งใจที่จะถวายสังฆทานสด ต้องไม่ลืมว่าการทำบุญใดๆก็ตาม ควรให้ความสำคัญกับความตั้งใจหรือเจตนาดี เป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะ สิ่งของที่นำมาถวายพระทุกอย่างควรเป็นสิ่งของที่ได้มาหรือใช้ทรัพย์ที่บริสุทธิ์จัดซื้อมา รวมทั้งเจตนาที่จะถวายก็ต้องบริสุทธิ ถวายเพื่อเป็นจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ ผู้สืบทอดศาสนา และเผยแพแผ่ธรรม หล่อหลอมสังคมและสร้างคนให้เป็นคนดี ถ้อยทีถ้อยอาศัย เจือจาน แบ่งปันต่อๆกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มิใช่ถวายเพื่อสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาตนเอง เช่นนั้นมิใช่การสละ หรือละโดยแท้จริง
สิ่งที่เราต้องคำนึงในการถวายสังฆทานสด
เวลาในการจัดถวาย การทำสังฆทานสด หรือการถวายภัตตาหารพระสงฆ์ “ ต้องทำก่อนเพล ” สาเหตุที่การทำสังฆทานสดหรือการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ต้องทำก่อนเพลเพราะพระรับแล้วฉันได้แค่เพล… เนื่องจากมีบัญญัติวินัยสงฆ์…ได้ระบุไว้ว่า ”วิกาลโภชนา เวรมณี “ เว้นอาหารในยามวิกาล… ยามวิกาลตามขนบพุทธศาสนา คือ หลังเที่ยงเป็นต้นไป และหากฉันอาหารหลังเที่ยงเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ** และสังฆทานสดที่เราจัดไปถวาย ถ้าหากพระฉันไม่หมดก็จะต้องให้เป็นทานไป และถ้าหากเอาไปเลี้ยงคนที่ถือศีล เช่นพระ เณร ชี คนที่มาถือศีลในวัด เขาจะให้พรและแผ่เมตตาให้ เราก็จะได้บุญอีกต่อหนึ่ง หรือเอาไปให้ทานเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะได้อานิสงส์มากกว่าการทำบุญตักบาตรทุกวัน
ช่วงเวลา และ ชนิดของอาหารที่พระสามารถฉันได้
สาเหตุที่มีบทบัญญัติวินัยสงฆ์ “ เว้นอาหารในยามวิกาล” “เกิดจากพระไปบิณฑบาตตอนพลบค่ำ ไปยืนรอขออาหารที่หน้าบ้านของชาวบ้าน…ในเวลาที่พวกเขาเพิ่งกลับจากการทำงานในไร่นามาเหนื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านบ่นรำคาญ จนเรื่องทราบถึงพุทธะแล้วจึงเรียกประชุมสงฆ์และบัญญัติวินัยห้ามพระฉันอาหารเวลาวิกาล”
(ยามวิกาล คือ เวลาตั้งแต่หลังเที่ยงจนถึงก่อนฟ้าสางของวันใหม่ หรือ ให้สังเกตโดย ยกฝ่ามือขึ้นมาหากมองเห็นเส้นลายมือชัดโดยอาศัยแสงจากธรรมชาติ ถือว่า พระสามารถเริ่มฉันอาหารเช้าได้)
- ยาวกาลิก: ของฉันที่พระรับประเคนแล้ว ” เก็บและฉันได้แค่ เช้า-เที่ยงวัน “ได้แก่ อาหาร แม้นมก็จัดเป็นอาหารที่ประณีต
- ยามกาลิก: ของฉันที่พระรับประเคนแล้ว “ เก็บและฉันได้แค่ เช้า-วันรุ่งขึ้น ” เช่น น้ำปานะที่ทำจากผลไม้ที่ไม่ใหญ่กว่าลูกมะตูม ไม่สุกด้วยไฟ กรองไม่ให้มีกาก
- สัตตาหกาลิก: ของฉันที่พระรับประเคนแล้ว “ เก็บและฉันได้แค่ 7 วัน “ เช่น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำมันสกัดต่างๆ เนยใส
- ยาวกาลิก: ของฉันที่พระรับประเคนแล้ว “ เก็บและฉันได้ตลอดชีวิต “ ได้แก่ ยาทั่วไป จาก หัว ใบ ราก ผล แม้แต่เกลือ
ขั้นตอนการถวายสังฆทานสด หรือ การถวายภัตตาหารเพล
- ติดต่อเจ้าอาวาสหรือเจ้าหน้าที่วัดที่เราต้องการเข้าไปถวายเพล หรือหากเป็นการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านให้แจ้งเจ้าอาวาสว่าต้องการนิมนต์พระกี่รูป
- เตรียมอาหารคาวหวานที่ต้องใช้ถวาย โดยให้พร้อมตามจำนวนพระที่เราต้องการถวายให้พร้อมก่อนเวลา 10.00 น. โดยการถวายเพลที่บ้านมี 2 แบบ คือ
- การถวายอาหารพระแบบโตก: เหมาะกับงานเลี้ยงพระที่จัดในพื้นที่กว้าง มีข้อดีคือเมื่อพระสวดเสร็จสามารถถวายอาหารได้เลย ไม่ต้องย้ายที่ เมื่อพระฉันเสร็จก็สามารถเก็บโตก และทำพิธีรับศีลต่อได้เลย
- การถวายอาหารพระแบบวง: เหมาะกับการถวายอาหารในพื้นที่จำกัด มีทั้งล้อมวงฉันที่พื้นและฉันที่โต๊ะอาหารเพื่อความสะดวก
- เมื่อเตรียมของทั้งหมดแล้วให้เจ้าภาพจุดธูปเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นจึงอาราธนาศีลพร้อมกัน และรับศีลจากพระ ฟังพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์จนเสร็จ
- หลังจบการเจริญพุทธมนต์ของพระให้เจ้าภาพนำอาหารที่เตรียมไว้มาวางแล้วกล่าวคำถวายข้าวพระพุทธ ต่อด้วยคำถวายเพลพระ
- ในการประเคนอาหารพระสงฆ์ ข้อควรระวัง คือ ควรเข้าใกล้พระสงฆ์ประมาณ 1 ศอก ยก โดยเริ่มประเคนของที่ละอย่างด้วยมือขวา และห้ามโดนของที่ประเคนไปแล้ว หากเผลอโดนโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้ยกประเคนใหม่อีกครั้ง
- หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จหมดแล้ว ให้เก็บสำรับและนำเครื่องไทยทาน หรือ หากมีชุดสังฆทานก็สามารถถวายพร้อมกันในตอนนี้ได้เลย
- ขั้นตอนสุดท้ายคือการกรวดน้ำ
ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร
ทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ดีอย่างไร
วันนี้คุณเลือก
สิ่งที่เหมาะกับการ
“ถวายสังฆทาน“
เรานำประสบการณ์กว่า 20 ปี
มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
เพื่อถวายพระสงฆ์
เวลาที่ผมจะเลือกสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ผมจะแยกซื้อของแต่ละชนิดเองในการนำมาจัดชุดสังฆทาน ไม่ได้ซื้อชุดสังฆทานที่จัดเตรียมไว้แบบสำเร็จรูป และผมจะค่อยๆเลือก เหมือนกับซื้อเพื่อที่จะนำไปใช้เอง หรือซื้อให้แม่ ดังนั้นในการเลือกของแต่ละอย่างจึงใช้เวลานานเพื่อเปรียบเทียบของทุกยี่ห้อที่วางอยู่ ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายสิบนาทีเพื่อเลือกสบู่สมุนไพรซักก้อน หรือ แชมพูสมุนไพรซักขวดนึง เพราะผมอยากรู้ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ ผลิตจากอะไร และยิ่งเลือกเพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว นอกจากจะพิจารณาเรื่องการนำไปใช้แล้วต้องรู้สึกถึงความสะอาด ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความเหมาะสมของกลิ่น, ประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ, ต้องคำนึงถึงกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของน้ำในแต่ละพื้นที่ เช่น บางวัดยังใช้น้ำบาดาล คุณภาพของน้ำก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำประปา และยังได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ถึงความเหมาะสมด้วย จึงได้ทราบว่า ยาสระผมสมุนไพรสำหรับพระสงฆ์ควรมีฟองค่อนข้างเยอะ เผื่อใช้ในการปลงผมด้วย และควรผลิตสบู่สมุนไพรที่ไม่ทำให้ผิวแห้งคัน ซึ่งกว่าจะเลือกชนิดของสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ผลิตสบู่สมุนไพร และยาสระผมสมุนไพร ก็ยังใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควร และต้องนำมาทดสอบด้วยตัวเองก่อน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าเหมาะสมทั้งด้านคุณภาพ และ ราคา เพื่อให้ทุกคนสามารถซื้อหา เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทยธรรม หรือ สังฆทาน ให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์ได้
สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ
“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ
“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”
กิจวัตรพื้นฐานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่บรรพชนประพฤติมาไม่ขาดสาย มีอยู่ 10 ประการ ด้วยกัน ได้แก่ ลงอุโบสถ, บิณฑบาตเลี้ยงชีพ, สวดมนต์ไหว้พระ, กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์, รักษาผ้าครอง (ใช้เครื่องนุ่งห่มหนึ่งชุด ดูแลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ), อยู่ปริวาสกรรม, โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ, ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์, เทศนาบัติ (ปลงอาบัติ เป็นกิจวัตรประจำวัน), พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น (ใช้สอยปัจจัยอย่างมีสติ) และกิจวัตรพื้นฐานเหล่านี้เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน
ประโยชน์ของกิจวัตร 10 อย่างนี้ มีหลายอย่าง เช่น การได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย, ทำให้เกิดความสามัคคี, มีความบริสุทธิ์, ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร, ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น, มีจิตเป็นกุศล, ได้ออกกำลังกาย, ทำให้สุขภาพดี, ขจัดความสกปรก, รู้จักการปลง, ไม่ยึดติดในรูป, เข้าใจในหลักของตน, สืบสานวัฒนธรรม เป็นต้น
ออกแบบโดยเภสัชกร และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้านเครื่องสำอางกว่า 20 ปี ทั้งนี้ก่อนที่เราจะตัดสินใจได้ว่าจะเลือกสมุนไพรชนิดไหนดีเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นี้ เราได้ทำการทดสอบกว่า 10 ครั้ง นอกจากนี้เรายังเลือกกระบวนการผลิตแบบ Cold Process เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร และกำหนดคุณภาพสบู่ให้เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น สบู่เพื่อผิวแห้ง ผิวมัน บำรุงผิว สูตรอ่อนโยนต่อผิว และแม้ว่าจะใช้เวลานานกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น เนื่องจากภายหลังจากที่เราผลิตสบู่เสร็จแล้ว เราจะต้องบ่มสบู่ทิ้งไว้อีก 2 สัปดาห์ เพื่อให้ปฏิกิริยาการเกิดสบู่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ไม่มีด่างหลงเหลืออยู่ และเมื่อครบกำหนดแล้วเราจะทำการทดสอบค่า PH ให้เป็นไปตามข้อกำหนด และสบู่ที่ทำนั้นจะมีกลีเซอรีนธรรมชาติเกิดขึ้นภายในเนื้อสบู่ ทำให้เกิดความนุ่มนวลต่อผิวเวลาใช้งาน มีคุณสมบัติในการเคลือบ กักเก็บความชุ่มชื้น และบำรุงผิวได้ดี
FDA APPROVED, GMP CERTIFICATED, SGS, MSDS
ด้วยเหตุที่ว่าพระต่างนิกาย อาจจะมีข้อปฏิบัติด้านพระวินัยที่แตกต่างกัน โสฬส จึงคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย และพัฒนาสินค้าออกมาเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทุกนิกาย ทุกประเทศทั่วโลกสามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระไทย สายวัดป่า หรือ สายพระในเมือง พระจีน หรือ พระญี่ปุ่น ก็สามารถใช้ได้ โดยไม่ขัดกับพระวินัยของสงฆ์ รวมถึงฆารวาส ญาติธรรมทั่วไปก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ของเรา นอกจากจะช่วยชำระล้าง รักษาความสะอาดแล้ว ยังมีสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงผิว เช่น ฟ้าทะลายโจร ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เสลดพังพอน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยลดอาการผิวแห้ง ลดอาการคัน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากพระสงฆ์จะไม่ทาครีมบำรุงผิว และยังให้กลิ่นสมุนไพรที่จะช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลายอีกด้วย
เรามีความเชื่อในเรื่องของกรรม และสังสารวัฏ (สังสารวัฏ แปลว่า ความท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะ การหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฏสงสาร ที่หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลกด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก หมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบากไม่ได้ เราก็เชื่อว่ากรรมมีจริง และเราก็เชื่อว่าทำกรรมใดลงไปแล้วก็จะได้รับผลนั้น และเชื่อว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน
เราคิดว่าการสร้างความดีนั้นสามารถทำได้ทุกโอกาส แม้แต่ในด้านการทำธุรกิจก็ตาม เราจึงเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน โดยพยายามที่จะทำสินค้าที่ผู้ผลิตก็สบายใจ ผู้ใช้ก็มีความสุข และผู้ซื้อก็สามารถเป็นผู้ให้ได้ และเราตั้งใจไว้ว่าจะนำกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจส่วนหนึ่งนี้ ไปสร้างประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งคุณเองก็สามารถมีส่วนร่วมกับเราในกิจกรรมต่างๆได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ให้การทำบุญของคุณได้รับอานิสงส์ x 2
“อานิสงส์แรง แซงกรรม”
“เราไม่สามารถนำกรรมดี (บุญ) ไปหักล้างกับกรรมชั่ว (บาป)” ….. หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าบาปกับบุญนั้นเหมือนวิ่งไล่กัน ดังนั้นเพื่อให้ผลแห่งกรรมดีหนุนนำ ส่งเสริม การทำความดี หรือ การสร้างบุญจึงควรหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ, การพูดให้เกิดกุศล, การคิดดี ฯลฯ
การเลือกสบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส จะช่วยให้เกิดอานิสงส์ได้อย่างไร
1. การสนับสนุนของท่านทำให้เรามีรายรับไปทำบุญ และในทุกๆเดือนนอกจากเราจะทำการถวายภัตตาหารเพล ทำบุญ และบริจาคยังหน่วยงานต่างๆตามโอกาสแล้ว เราจะร่วมทำกิจกรรมกับทางบ้านศิ-ชนะ ในการซื้อสิ่งของไปบริจาคตามพื้นที่ห่างไกลต่างๆ เช่น วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ดังนั้นเท่ากับว่าท่านก็ได้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลไปกับเราด้วย
2. การที่ท่านนำสบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร ตราโสฬสไปถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์นำใช้แล้วเกิดประโยชน์ท่านก็ได้รับบุญ และพระสงฆ์ท่านก็นำมาใช้ทุกวันจนกว่าจะหมด จึงทำให้ท่านที่นำมาถวายจะได้รับอานิสงส์ทุกๆครั้งที่พระสงฆ์นำมาใช้ เท่ากับว่าท่านถวายสังฆทานพระสงฆ์เพียงครั้งเดียวท่านก็ได้รับบุญมาก
แค่นึกถึง และสนับสนุน
คุณก็ร่วมสะสมบุญไปกับเรา
- ได้ บุญ เมื่อนำไปถวายพระ
- ได้ สินค้าที่ดี เมื่อนำไปใช้เอง
- ได้ อาชีพ เมื่อนำไปขายต่อ
ติดต่อเราได้ที่ โทร 06-4289-6393
Leave A Comment