ข้อควรปฎิบัติในการถวายสังฆทานให้ได้บุญ
“เมื่อเริ่มทำก็ควรทำใจให้โปร่ง โล่งสบาย มีจิตที่สงบ โดยการกล่าว นะโม 3 จบ จากนั้นก็กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย เพื่อจิตอันเป้นสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน และจะได้เกิดความปิตติเวลาถวาย ปิตตินี่แหละคือบุญ คือความรู้สึกที่ตัวเราเองเป็นซึมซับเข้าตัว เราคือผู้กำหนดและผู้รู้ว่าจะได้บุญมากหรือน้อย เวลาทำบุญถวายสังฆทานแฃ้ว จะกรวดน้ำก็ได้ไม่มีน้ำก็ได้ เพียงนึกในใจก็ได้ และไม่จำเป็นว่าเวลากรวดน้ำจะต้องแตะตัวต่อๆกัน เพราะบุญเป็นรูปแบบของใจ ไม่ใช่ของพิธีกรรม พิธีกรรมเป็นแค่ตัวช่วย ไม่ว่าจะแตะหรือไม่ บุญก็เกิดขึ้นแล้ว แต่จะมากหรือน้อยอยู่ที่จิตที่ตั้งมั่นและซึมซับรับรู้ในขณะนั้นนั่นเอง”
* ข้อความบางตอนจาก บุญอยู่ที่ใจ ☼ หลวงพ่อไพศาล วิสาโล
เพื่อบุญที่ถูกต้องเหมาะสมจากผู้รับถึงผู้ให้ เราควรจะเรียนรู้ขอบข่ายและข้อกำหนดกฎหมายบางประการอันเป็นข้อควรปฏิบัติในการถวายสังฆทานให้ได้บุญ ที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อไม่นานมานี้กันก่อน และควรทำความเข้าใจกับของที่ไม่เหมาะแก่การถวายสังฆทานเสียด้วยในเวลาเดียวกัน เพื่อให้บุญที่ตั้งใจสร้างในแต่ละครั้งส่งผลตามที่ได้ตั้งใจไว้ตามเจตจำนงค์เริ่มแรก
โดยเมื่อไม่นานมานี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ. ได้ลงพื้นที่เข้าตรวจ สอบสังฆทานที่ถูกถวายมาที่วัดและที่ยังวางขายอยู่ตามร้านขายเครื่องสังฆทานหรือสังฆภัณฑ์ต่างๆ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า มีความผิดพลาด และมีความไม่เหมาะสมในหลายประการ มีรายการหรือข้อกำหนดของที่ควรลดละเลิกในสังฆทาน และของบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาประกอบเป็นสังฆทาน หรือในชุดสังฆทานเดียวกันอยู่อีกมาก
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ตรวจสอบชุดสังฆทานและชุดไทยธรรม ที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านหรือสถานที่จำหน่ายต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่าผู้ประกอบธุรกิจทั้งต้นทางและปลายทาง ยังจัดทำฉลากสินค้าได้ไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 23 พศ. 2550 เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เช่น ไม่มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่บรรจุในชุดสังฆทาน และชุดไทยธรรม ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการจัดทำฉลากสินค้าประเภทชุดสังฆทานและชุดไทยธรรม ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าผู้ประกอบธุรกิจบางรายยังจัดทำฉลากสินค้าไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 23 พศ.2550 เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่บรรจุในชุดสังฆทาน และชุดไทยธรรม ต้องระบุ วัน เดือน ปี ที่ทำการบรรจุ วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ วัน เดือน ปี ที่ควรใช้ก่อนช่วงเวลานั้นๆ โดยระบุจากวันหมดอายุชิ้นที่ใกล้เคียงจากปัจจุบันที่สุด (ชิ้นที่จะหมดอายุก่อน) ในสินค้าของในชุดสังฆทานที่นำมารวมนั้นระต้องถูกต้องตามประกาศ
ขณะเดียวกัน สคบ. ยังได้รับข้อร้องเรียนจากผู้บริโภค ถึงการจำหน่ายชุดสังฆทานที่สินค้ามีจำนวนไม่ครบตามที่ระบุไว้บนฉลาก วันเดือนปีสินค้าที่ระบุวันหมดอายุไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งสินค้าประเภทชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้แสดงชื่อ ประเภท หรือชนิดสินค้า ขนาด น้ำหนักต่อหน่วย ประมาณการบรรจุ ค่าภาชนะบรรจุ โดยใช้ตัวอักษรและตัวเลข FORT ตั้งแต่ขนาด 16 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
ทั้งนี้กรณีชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรมใดที่มีการนำสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันจนทำให้มีสี กลิ่น หรือรส เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค เนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้น ให้ระบุคำเตือนในฉลากด้วย จึงอยากให้ผู้ขาย ขายสินค้าที่มีคุณภาพ ส่วนผู้บริโภคก็ขอให้เลือกสินค้าและตรวจสอบสินค้าอย่างละเอียดเพื่อให้ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กรณีผู้จำหน่ายชุดสังฆทานและชุดไทยธรรม ขายสินค้าโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลาก แต่การแสดงฉลากนั้นไม่ถูก ต้องระวางโทษษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้ผลิตชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีการเตือนและให้ความรู้สำหรับการซื้อ หรือการจัดชุดสังฆทานที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มเติมแก่บุคคลทั่วไป อาทิเช่น เครื่องดื่มหรือเครื่องกระป๋องที่หมดอายุเป็นอันตรายต่อสุขภาพพระ รวมทั้งยังมีการจัดเป็นรวมชุด ไม่มีการแยกประเภทที่ชัดเจน เอาของกินไปไว้รวมกับของใช้เ เช่นปลากระป๋องสำหรับทานรวมอยู่ในถังสังฆทานเดียวกันกับกล่องผงซักฟอก และน้ำยาทำความสะอาดอะไรต่างๆเหล่านี้ ซึ่งอาจจะทำให้กลิ่น สี และคุณค่าทางอาหารเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่เล็กน้อยเพียงแค่รสชาติ หรือ จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทาน หรือของใช้ อย่างเช่นพวกไฟฉาย ยังไม่ทันได้ใช้ อาจพบว่าหมดสภาพ หลุดเป็นชิ้นๆไปกันคนละทิศละทาง ไม่สามารถใช้อะไรได้ ร่มที่กางออกมาแล้ว สภาพไม่ใช่ร่ม เป็นแค่เพียงเศษผ้าที่จับจีบไว้กับโครงเพื่อให้ดูลักษณะเป็นร่มปรกติ นั้นแล้วก่อนผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อขอให้พิจรณาในรายละเอียดดังกล่าวด้วย
เมื่อได้ทราบถึงตัวบทกฎหมายที่ถูกตราขึ้นหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อความถูกต้องเหมาะสมแล้ว เราควรทราบถึงพนะธรรมวินัยที่ว่าด้วยเรื่อง ของ ของที่ไม่ควรนำมาถวายสังฆทานเป็นความรู้ควบคู่กันไปด้วยพร้อมๆกันน่าจะถือได้ว่าเป็นการดีและครบถ้วน ดังมีรายละเอียดตามนี้
ของที่ห้ามถวายสังฆทาน
- ข้าวสาร (พระหุงหรือปรุงเองไม่ได้)
- ธัญญาหารดิบ
- ปลาดิบ
- เงินหรือทอง (ในหลายวัดยังคงถือเคร่งไม่แตะต้องหรือรับเงินในทุกทาง)
- บุหรี่ ยาเสพติด เครื่องดื่มชูกำลังทุกประเภท
- ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
- อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้
- ใบชา พระไม่ค่อยได้ชงฉัน ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรให้ประโยชน์กับสุขภาพมากกว่า
- กล่องสบู่ ปกติพระท่านมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อถวายอีก
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสดและมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย และอาจอยู่ในข้อพระวินัยว่าด้วย พระสงฆ์ห้ามปรุงอาหาร ต้องเป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย
- หนังสือหรือสื่ออนาจาร
- สิ่งของที่เกี่ยวข้องอันนำไปสู่ อบายมุขต่างๆ
ในส่วนพระวินัย ว่าด้วยสังฆทานสด หรือการถวายภัตตาหาร ต้องถวายก่อนฉันเพล และมีข้อกำหนด ภัตตหารต้องห้ามบางส่วนสำหรับพระภิกษุตามพระวินัย อันได้แก่
- ภัตตาหารที่เป็นเนื้อสัตว์จะต้องไม่เป็นเนื้อสัตว์ที่ฆ่าเพื่อถวาย โดยเฉพาะเนื้อสัตว์จะต้องไม่เป็นเนื้อสัตว์ 10 ชนิดที่ห้ามพระภิกษุฉัน ได้แก่ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้อวัว เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือ งเนื้อหมี เนื้อเสือดาว
- ภัตตาหารที่เป็นผักหรือผลไม้ เพื่อที่จะถวายพระ ในอดีตมีความเชื่อว่า ต้นไม้มีชีวิต คือเป็นสิ่งที่เติบโตงอกงาม ออกลูก ออกผลได้ เพราะฉะนั้น เมื่อพระภิกษุ ท่านจะรับอาหาร ที่เป็นผัก หรือผลไม้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิต มีเมล็ดแก่ ที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้ อย่างส้ม แตงโม มะเขือสุก หรือมีส่วนอื่นที่นำไปปลูกได้ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ราก หัวก็ดี เช่น ผักบุ้ง ใบโหรพา หัวหอม จะต้องทำวินัยกรรมที่มักเรียกว่า “กัปปิยะ” เสียก่อน พระท่านจึงจะฉันได้ หากไม่ทำกัปปิยะ ก่อนแล้ว พระฉันเข้าไปจะเป็นอาบัติทุกกฎ
สบู่ และ แชมพู เพื่อถวายพระสงฆ์โดยเฉพาะ
“พระสงฆ์ส่วนมากจะใช้สบู่สมุนไพร และ แชมพูสมุนไพร” จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบในการผลิต และกว่าที่เราจะเลือกได้ว่าจะใช้สมุนไพรชนิดไหนดี ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสบู่และแชมพูนั้นมีอยู่มากกว่า 20 ชนิด และ ในเรื่องกระบวนการผลิต ยังต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตที่จะไม่ให้สารสำคัญในสมุนไพรสลายตัวด้วย จนในที่สุดเราก็คัดเลือกสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทำสบู่ และแชมพู โดยคำนึงถึงสรรพคุณในเรื่องลดอาการแพ้ ลดอาการอักเสบ อาการคัน และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวกาย และหนังศีรษะได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ
“พระสงฆ์ครองจีวร และไม่มีเกศา (เส้นผม) จึงทำให้ผิวสัมผัสกับอากาศ และแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จนอาจทำให้ผิวแห้ง เกิดอาการคัน เป็นผดผื่นตามผิวหนัง และหนังศีรษะ”
กิจวัตรพื้นฐานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่บรรพชนประพฤติมาไม่ขาดสาย มีอยู่ 10 ประการ ด้วยกัน ได้แก่ ลงอุโบสถ, บิณฑบาตเลี้ยงชีพ, สวดมนต์ไหว้พระ, กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์, รักษาผ้าครอง (ใช้เครื่องนุ่งห่มหนึ่งชุด ดูแลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ), อยู่ปริวาสกรรม, โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ, ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์, เทศนาบัติ (ปลงอาบัติ เป็นกิจวัตรประจำวัน), พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น (ใช้สอยปัจจัยอย่างมีสติ) และกิจวัตรพื้นฐานเหล่านี้เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน
ประโยชน์ของกิจวัตร 10 อย่างนี้ มีหลายอย่าง เช่น การได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย, ทำให้เกิดความสามัคคี, มีความบริสุทธิ์, ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร, ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น, มีจิตเป็นกุศล, ได้ออกกำลังกาย, ทำให้สุขภาพดี, ขจัดความสกปรก, รู้จักการปลง, ไม่ยึดติดในรูป, เข้าใจในหลักของตน, สืบสานวัฒนธรรม เป็นต้น
ออกแบบโดยเภสัชกร และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้านเครื่องสำอางกว่า 20 ปี ทั้งนี้ก่อนที่เราจะตัดสินใจได้ว่าจะเลือกสมุนไพรชนิดไหนดีเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นี้ เราได้ทำการทดสอบกว่า 10 ครั้ง นอกจากนี้เรายังเลือกกระบวนการผลิตแบบ Cold Process เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร และกำหนดคุณภาพสบู่ให้เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น สบู่เพื่อผิวแห้ง ผิวมัน บำรุงผิว สูตรอ่อนโยนต่อผิว และแม้ว่าจะใช้เวลานานกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น เนื่องจากภายหลังจากที่เราผลิตสบู่เสร็จแล้ว เราจะต้องบ่มสบู่ทิ้งไว้อีก 2 สัปดาห์ เพื่อให้ปฏิกิริยาการเกิดสบู่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ไม่มีด่างหลงเหลืออยู่ และเมื่อครบกำหนดแล้วเราจะทำการทดสอบค่า PH ให้เป็นไปตามข้อกำหนด และสบู่ที่ทำนั้นจะมีกลีเซอรีนธรรมชาติเกิดขึ้นภายในเนื้อสบู่ ทำให้เกิดความนุ่มนวลต่อผิวเวลาใช้งาน มีคุณสมบัติในการเคลือบ กักเก็บความชุ่มชื้น และบำรุงผิวได้ดี
FDA APPROVED, GMP CERTIFICATED, SGS, MSDS
ด้วยเหตุที่ว่าพระต่างนิกาย อาจจะมีข้อปฏิบัติด้านพระวินัยที่แตกต่างกัน โสฬส จึงคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย และพัฒนาสินค้าออกมาเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทุกนิกาย ทุกประเทศทั่วโลกสามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระไทย สายวัดป่า หรือ สายพระในเมือง พระจีน หรือ พระญี่ปุ่น ก็สามารถใช้ได้ โดยไม่ขัดกับพระวินัยของสงฆ์ รวมถึงฆารวาส ญาติธรรมทั่วไปก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ของเรา นอกจากจะช่วยชำระล้าง รักษาความสะอาดแล้ว ยังมีสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงผิว เช่น ฟ้าทะลายโจร ชะเอม น้ำมันมะรุม น้ำมันมะพร้าว ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ เสลดพังพอน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยลดอาการผิวแห้ง ลดอาการคัน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากพระสงฆ์จะไม่ทาครีมบำรุงผิว และยังให้กลิ่นสมุนไพรที่จะช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลายอีกด้วย
เรามีความเชื่อในเรื่องของกรรม และสังสารวัฏ (สังสารวัฏ แปลว่า ความท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะ การหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฏสงสาร ที่หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลกด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก หมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบากไม่ได้ เราก็เชื่อว่ากรรมมีจริง และเราก็เชื่อว่าทำกรรมใดลงไปแล้วก็จะได้รับผลนั้น และเชื่อว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน
เราคิดว่าการสร้างความดีนั้นสามารถทำได้ทุกโอกาส แม้แต่ในด้านการทำธุรกิจก็ตาม เราจึงเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน โดยพยายามที่จะทำสินค้าที่ผู้ผลิตก็สบายใจ ผู้ใช้ก็มีความสุข และผู้ซื้อก็สามารถเป็นผู้ให้ได้ และเราตั้งใจไว้ว่าจะนำกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจส่วนหนึ่งนี้ ไปสร้างประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งคุณเองก็สามารถมีส่วนร่วมกับเราในกิจกรรมต่างๆได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม