บทสวดมนต์ คือ อะไร
บทสวดมนต์ ในศาสนาพุทธโดยทั่วไปจะเป็นภาษาบาลี ซึ่งหากนำมาแปลความหมายก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชา เพื่อรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นอุบายในการเจริญสติ ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ
ดังนั้นในการสวดมนต์เกือบทุกครั้ง จึงเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า “นโม ตสฺสะ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” แปลโดยรวมว่า “ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” (อ้างอิงจาก wiki)
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ส่งเสริมชีวิต รวบรวมโดยโสฬส (ใช้เวลาสวดประมาณ 30 นาที)
- คำบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
- คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
- ปุพพภาคนมการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
- คำอาราธนาศีล 5
มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
- คำนมัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
- คำสมาทาน ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัจฉะปะมาทะถานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ (3 ครั้ง)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย
- คำไหว้พระรัตนตรัย
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย
ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
- พุทธชัยมงคลคาถา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง คะรีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต (สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่า ท่าน - เม แปลว่า ข้าพเจ้า)
- มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่า ท่าน - เม แปลว่า ข้าพเจ้า)
- คาถาชินบัญชร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
- ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
- ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา
- สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
- หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
- ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
- เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
- กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร
- ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
- เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
- ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
- ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
- ชินานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา
- อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
- ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
- อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ
- คาถามหาจักรพรรดิ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
- บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้า มีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้า ปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้า ปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะหัง อะนีโฆ โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้า ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ - ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
- บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา - สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ - จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ
- บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ มีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา - ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความสุขทั่วหน้ากันเทอญฯ
บทสวดมนต์ก่อนนอน ที่นิยมสวดมีอะไรบ้าง
บทสวดมนต์ ช่วยส่งเสริมเรื่องสุขภาพ
- โพชฌังคปริตร - เชื่อว่าพุทธมนต์ของบทสวดมนต์นี้จะช่วยเสริมให้มีกำลังใจ ช่วยปัดเป่าโรคภัยให้หายพลัน หรือ บรรเทาเบาบางลง
- คิริมานนสูตร หรือ อาพาธสูตร - พุทธมนต์ของบทสวดมนต์นี้จะช่วยเสริมให้จิตใจสงบขึ้น และระงับความเจ็บปวดจากโรคภัยไข้เจ็บ
- อุณหิสสวิชัย - บทสวดมนต์บทนี้จะช่วยในเรื่องของการป้องกันอันตรายจากสิ่งชั่วร้าย และป้องกันการตายก่อนเวลาหรือช่วยต่ออายุ
- พุทธมนต์โอสถ - พุทธมนต์ของบทสวดมนต์นี้จะช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ กำจัดทุกข์ภัยโรคร้าย หรือ โรคระบาด
บทสวดมนต์ ช่วยส่งเสริมดวง ร่ำรวย เงินทอง โชคลาภ
- บทสวดพาหุง หรือ พาหุง มหากา - พุทธมนต์ของบทสวดมนต์บทนี้จะช่วยเสริมให้ผู้สวดมีจิตใจเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับอุปสรรค และช่วยให้พ้นบ่วงมารเพราะอุปสรรค์บางอย่างก็เกิดมาจากกรรมเก่า
- คาถาเงินล้าน - พุทธมนต์จะช่วยเสริมให้ค้าขายร่ำรวย
- พระคาถาชินบัญชร - บทสวดมนต์บทนี้พุทธมนต์จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล เมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ
- อิติปิโส - พุทธมนต์ของบทสวดมนต์บทนี้ก็คือ ช่วยเสริมให้ร่ำรวย มีโชคลาภ เสริมดวงและเสริมบารมี
- คาถามหาจักรพรรดิ - พุทธมนต์ของบทสวดมนต์บทนี้ก็คือ ช่วยเสริมให้ชะตาชีวิตดีขึ้น และช่วยปรับภพภูมิให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและเจ้ากรรมนายเวร
- พระคาถาพระสีวลี - คาถาบทนี้พุทธมนต์จะช่ายให้มีเงินทองไหลมาเทมา ไม่ขัดสน ไม่อับจนตลอดไป
สวดมนต์ก่อนนอน มีประโยชน์อย่างไร
หลายท่านอาจจะมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบในช่วงเช้า ดังนั้นการสวดมนต์ก่อนนอนจึงเป็นช่วงเวลาที่ถือว่าสะดวกที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการจะสวดมนต์ ซึ่งการสวดมนต์นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้สุขภาพดี โรคร้ายเบาบางลงได้ และมีผลทำให้จิตสงบ เข้าสมาธิได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความเป็นสิริมงคล ช่วยให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า แคล้วคลาด ปลอดภัย ถือเป็นการสะสมบุญบารมีอีกด้วย
ในทางวิทยาศาสตร์ การสวดมนต์ มีหลักการสอดคล้องกับ Vibrational Medicine หรือ Vibrational Therapy (การบำบัด หรือการรักษาด้วยการสั่นสะเทือน) เนื่องจากการสวดมนต์ทำให้เกิดคลื่นความถี่ที่มีความสม่ำเสมอ และเกิดการสั่นที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้ผลิตสารสื่อประสาท ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเห็นคนที่ป่วยด้วยโรค หรือมีอาการเจ็บป่วยต่างๆมีสุขภาพดีขึ้นได้ เมื่อทำการสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ
อานิสงส์ของการสวดมนต์
นอกจากจะช่วยทำให้มีปัญญา และระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้แล้ว ยังเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
อานิสงส์ที่เกิดขึ้นกับสุขภาพกาย
โดยจะส่งผลต่อจิตใจ ทำให้อารมณ์ผ่องใส ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนปกติและร่างกายเกิดความสมดุล เมื่อร่ายกายสมดุลบุคคลนั้นจะอายุยืน ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า “การนำปัจจัยภายในมาสร้างอายุวัฒนะ”
- อานิสงส์ให้เกิดจิตมีกำลัง เป็นเสมือนอาหารบำรุงจิต ทำให้จิตมีกำลังดี มีสติดี และหนักแน่น เมื่อจิตเป็นสมาธิก็ทำให้มีสติและจะก่อให้เกิดปัญญาตามมา สมาธิที่ได้จากการสวดมนต์ก่อนนอนก็จะเป็นอาหารที่สำคัญของจิตหรืออาหารบำรุงจิตนั่นเอง
- ได้อานิสงส์จากการโปรดดวงจิตวิญญาณ พวกดวงวิญญาณเร่ร่อน มีความต้องการรับส่วนบุญจากผู้ที่สวดมนต์ เพื่อให้ตนมีความร่มเย็น พ้นทุกข์ หรือหลุดพ้นจากการถูกจองจำจากบ่วงพันธนาการ เพราะบทสวดมนต์แต่ละบทจะมีอานุภาพอยู่ในตัว อักขระภาษาในบทสวดมนต์มีมนต์ขลัง เช่น บทพุทธบารมี บทพระคาถาชินบัญชร ถ้าผู้สวดมีสมาธิจิตที่ดี พลังแห่งเมตตาและอานุภาพก็จะสามารถแผ่กระจายไปได้ไกล เมื่อเสียงสวดและอักขระของบทสวดมนต์ไปกระทบกับดวงวิญญาณใด พลังเมตตาและพลานุภาพของบทสวดมนต์บทนั้น จะไปกระตุ้นให้ดวงวิญญาณเกิดความระลึกได้ ก็จะสามารถดูดซับพลังบารมีจากบทสวดมนต์ได้อย่างเต็มที่ ดวงวิญญาณที่มีดวงจิตที่มืดบอดก็จะสว่างผ่องใสขึ้น ทำให้หลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการได้ในที่สุด
- ได้อานิสงส์จากโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย พวกสัตว์เล็ก สัตว์น้อย สรรพสัตว์ทั้งหลายก็จะได้อานิสงส์ไปด้วย ด้วยพลังบทสวดมนต์และการแผ่เมตตา
- เป็นที่รักของเทวดา ผู้ใดที่สวดตอนเช้า และสวดมนต์ก่อนนอน เป็นประจำจะเป็นที่โปรดปรานของเทวดาไปที่ไหนก็จะมีเทวดาคอยปกป้องคุ้มครอง ให้โชคให้ลาภ ให้ความมั่งมีสีสุข เพราะเมื่อเราสวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา ทำให้เทวดาได้รับบารมีเพิ่ม ได้รับความสว่างเพิ่ม เทวดาก็จะอำนวยอวยพรชัยมงคลให้กับเราเป็นการตอบแทน
- สามารถแผ่เมตตาช่วยคนเจ็บป่วยได้ อานิสงส์การแผ่เมตตานั้น นอกจากสรรพสัตว์และดวงวิญญาณทั้งหลายแล้ว มนุษย์ทั่วไปที่นอนเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานก็สามารถรับอานิสงส์จากการแผ่เมตตาที่เราส่งไปให้ได้ด้วยเช่นกัน
ร่วมสนับสนุนการสั่งสมบุญโดย
สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ตราโสฬส
“เวลาญาติโยม ตั้งใจนำสิ่งดีๆมาถวาย เมื่อพระสงฆ์ท่านได้รับแล้วก็ชื่นใจ สามารถนำมาใช้ได้จริง เกิดประโยชน์ ศรัทธาของท่านผู้นำมาถวาย ก็เกิดสัมฤทธิ์ผล”
โปรโมชั่นสำหรับ ถวายสังฆทาน ชุดละ 299 บาท
สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส
สบู่สมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น และผลิตเป็นก้อนแบบ Cold Process เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันสกัดจากผลปาล์ม, สารสกัดจากรากชะเอม, เสลดพังพอนตัวผู้, สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และวิตามินอี จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน
เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560
ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)
แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส
แชมพูสมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคือง อาการคัน ให้กับหนังศีรษะ ที่ใช้สมุนไพรจากกรรมวิธีสกัดเย็น เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, ว่านหางจระเข้, เมล็ดมะรุม, ใบบัวบก และวิตามินบี 5 จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะนอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะ
เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020
ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)