คาถาชินบัญชร คือ อะไร
ในวันนี้ โสฬส จะสวดมนต์ไปด้วยกันกับทุกท่าน และ เล่าถึงที่มาของบทสวดที่เรากำลังจะสวดมนต์ไปด้วยกัน ดังนี้ (อ้างอิงจาก wikisource)
พระคาถาชินบัญชร เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่คนไทยรู้จักและนิยมสวดมากที่สุด โดยที่มาถูกสันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น แต่ข้อมูลจากบางแหล่งกล่าวว่ามาจากลังกา และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกา ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมือนเกราะเพชรและให้โชคให้ลาภตามที่ปรารถนาได้
ชินบัญชร แปลว่า กรง หรือ ซี่กรงของพระชินเจ้า
ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า คนชนะ (พระชินเจ้า หรือพระพุทธเจ้า) และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งข้อมูลอื่น กล่าวว่า ชื่อพระคาถาชินบัญชรนั้นแปลว่าหน้าต่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยหากนำเนื้อความในบทพระคาถามาเรียบเรียงก็อาจจำแนกได้เป็น 5 ตอน ได้แก่
- เป็นบทสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ได้ตรัสรู้อริยสัจสี่ แล้วเสวยวิมุตติสุขจากความตรัสรู้นั้นแล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าทั้ง 28พระองค์ มีสมเด็จพระตัณหังกรพระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เสด็จมาอยู่ ณ เบื้องกระหม่อม
- เป็นบทอัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มาสถิตอยู่ที่ศีรษะ ที่ดวงตา และหน้าอก
- เป็นบทอาราธนาพระอริยสาวกทั้งปวง มีพระสาลีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอนุรุทธเถระเป็นต้น ให้มาสถิต ณ ส่วนและอวัยวะต่าง ๆ
- เป็นบทอัญเชิญพระสูตรทั้งปวง มีรัตนสูตรเป็นต้น มาสถิตอยู่ที่ส่วนต่าง ๆ และกางกั้นอยู่เบื้องบนอากาศ และเป็นกำแพงอันล้อมรอบ
- เป็นบทอานิสงส์และเงื่อนไขของพระคาถาชินบัญชร สำหรับผู้ร่ำเรียนท่องบ่นมนต์นี้ ซึ่งมี 3 ส่วนคือ
- อานิสงส์หรือผลที่จะได้รับ ซึ่งขออานิสงส์ให้อุปัทวันตรายทั้งหลายภายนอกและอุปัทวันตรายทั้งหลายภายในอันเกิดแต่เหตุต่างๆ มีลมกำเริบและดีซ่านเป็นต้นให้ดับสูญไป
- คำมั่นสัญญาว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันว่า “เมื่อข้าพเจ้าประกอบการงานของตนอยู่ในขอบเขตในพระบัญชรของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ขอได้โปรดคุ้มครองรักษาข้าพเจ้า”
- เงื่อนไขและคำมั่นสัญญาในอนาคตว่า “ด้วยประการฉะนี้เป็นอันข้าพเจ้าได้คุ้มครองไว้ด้วยดีและด้วยอานุภาพของสมเด็จพระชินสีห์สัมพุทธเจ้า ขอให้ข้าพเจ้ามีชัยชนะแก่อุปัทวะทั้งปวง ด้วย อานุภาพของพระธรรมขอให้ข้าพเจ้ามีชัยชนะแก่หมู่อริศัตรูทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ขอให้ข้าพเจ้ามีชัยชนะแก่อันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าผู้อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมคุ้มครองรักษาแล้วจะประพฤติตนอยู่ในขอบเขตพระบัญชรของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดไปเทอญ”
คาถาชินบัญชร สวดตอนไหน
ตามที่กล่าวต่อๆกันมา การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น (ยิ่งขึ้นมากยิ่งดี) ให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก และดอกมะลิร่วง (เด็ดก้านดอก) 1 กำ ธูปหอมอย่างดี 9 ดอก เทียน (เล่มหนัก1บาท ถ้าไม่มีใช้2บาท แต่ควรใช้1บาทเพื่อเป็นสิริมงคล) จำนวน 9 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต
วิธีสวด คาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร แบบย่อ
1. ตั้งนะโม 3 จบ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
2. กล่าวบทสวดคาถาชินบัญชรแบบย่อ ซึ่งโสฬสพบว่า มีคำสวดที่แตกต่างกันจากแหล่งที่มาตามที่ปรากฎดังนี้
- ชินะปัญชะระ ปะริตังมัง รักขะตุสัพพะทา (หรือ)
- ชินะปัญชะระ สัพปุริวาณัง รักขะตุสัพพะทา (wikisource)
(ภาวนา 10 จบ)
พระคาถาชินบัญชร พร้อมคำแปล
พระคาถาชินบัญชร แบบบาลี (สวดแบบเต็ม)
คำสวด (คำภาวนา) เริ่มจากการตั้งนะโม 3 จบ และสวดตาม ดังนี้
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุต๎วา
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
- ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
- ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
- สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
- หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
- ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
- เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
- กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
- ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
- เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
- ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
- ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
- ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
- อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
- ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
- อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คำแปลพระคาถาชินบัญชร
- พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
- มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
- ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
- พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
- พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
- มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
- พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
- พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
- ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
- พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
- พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
- อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
- ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
- ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
- ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
พระคาถาชินบัญชร แบบร้อยกรอง
- ข้าฯขอเชิญเสด็จ พระสรรเพชญ์พุทธองค์ นราสภาทรง พิชิตมารและเสนา
- ยี่สิบแปดพระองค์ นายกสงฆ์ทรงสมญา ตัณหังกรเป็นต้นมา ทรงดื่มแล้วซึ่งรสธรรม
- จตุสัจอันประเสริฐ ทรงคุณเลิศดิลกล้ำ ยอดบุญพระคุณนำ ยิ่งเทพไท้ไตรวิชชา
- โปรดรับประทับทรง ณ ที่ตรงกระหม่อมข้าฯ พระพุทธเจ้าสา- ธุ ประณม บังคมเชิญ
- ขอให้พระพุทธะ สักกยะพระจำเริญ ประทับบนเศียรเทอญ ปราชญ์สรรเสริญพระบารมี
- ขอให้พระธรรมะ อริยะวิสุทธิ์ศรี ประทับจักขุนทรีย์ ให้ข้ามีปัญญาญาณ
- ขอให้พระสังฆะ วิสุทธะคณาจารย์ สถิตประดิษฐาน อุระข้าอย่ารู้ไกล
- ให้พระอนุรุทธ์ บริสุทธิ์อยู่หทัย พระสารีบุตรไพ- โรจนัย ณ เบื้องขวา
- เบื้องหลังพระโกณฑัญ- ญะสถิตจิตตสา เบื้องซ้ายพระโมคคัลลา ณ สถิต สถาพร
- หูขวาพระอานนท์ ประชุมชนประนมกร พระราหุลอุดมพร สถิตร่วมจรัญญา
- หูซ้ายพระกัสสป นิราศภพกิตติมา คู่กับพระมหา นามะสถิตประดิษฐาน
- พระพุทธโสภิต ผู้เรืองฤทธิ์อุดมญาณ จอมมุนีวีระหาญ ไตรวิชชาประภากร
- ดุจดวงพระอาทิตย์ แรงร้อยฤทธิ์พันแสงศร สถิตเกศอุดมกร ปัจฉิมภาคพิบูลพรรณ
- พระกุมาระกัสสป ผู้เจนจบวจีสัณห์ บ่อบุญคุณานันท์ สถิตโอษฐ์อลังการ
- ขอให้พระปุณณะ เถระพระอังคุลิมาร พระอุบาลีศานต์ พระนันทะพระสิวลี
- บรรจบเป็นเบญจะ พระเถระผู้เรืองศรี สถิตอยู่นลาฏมี เสน่ห์ดีไมตรีตาม
- แปดสิบพระสาวก มนต์สาธกผู้เรืองนาม เรืองเดชทุกโมงยาม ด้วยสีลาธิคุณคง
- สถิตทั่วทุกส่วนกาย ทั้งน้อยใหญ่ประทับทรง เป็นคุณจำเริญมง- คละเลิศประเสริฐศรี
- ขอเชิญพระปริตร อันศักดิ์สิทธิ์ในแดนตรี เมตตาและปรานี บริรักษ์นิราศภัย
- เบื้องหน้ารัตนสูตร ธรรมาวุธอันเกรียงไกร ทักษิณอันฤาชัย เมตตสูตรพระพุทธมนต์
- ปัจฉิมธชัคคสูตร พุทธาวุธวิเศษล้น อุดรมหามนต์ อังคุลิมาละสูตรเสริม
- ขันธโมระปริตร ดังจักรกฤชประสิทธิ์เฉลิม อาฏานาฏสูตรเติม พระขรรค์เพชรเผด็จมาร
- เพดานกั้นมารอากาศ ให้ปลาตเกษมศานต์ อีกให้เป็นปราการ กำแพงแก้วกำจัดภัย
- ทวารบถกลดเจ็ดชั้น ดำรงมั่นเดโชชัย พระชินราชประสาทให้ เป็นเกราะใหญ่คุ้มครองตน
- ด้วยเดชพระชินศรี เรืองฤทธีมหิทธิดล ขจัดภัยทุกแห่งหน ทั้งวิบัติอุปัทวา
- ทั้งภายนอกและภายใน เกิดเป็นภัยไม่นำพา เพียงลมร้ายพัดไปมา ไม่บีฑาอย่าอาวรณ์
- เมื่อข้าฯสวดพระสูตร พระสัมพุทธบัญชร สูงสุดพุทธพร ในพื้นเมทนีดล
- กลางชินบัญชร คุณากรกิตติพล หวังใดได้เป็นผล จากกุศลสาธยาย
- ขอมวลมหาบุรุษ หน่อพระพุทธฤาสาย รักษาข้าฯอย่าคลาย ตลอดกาลนิรันดร
- อีกเวทมนตร์ดลคาถา ที่มวลข้าฯประนมกร เล่าเรียนเพียรว่าวอน อนุสรณ์ตลอดมา
- เป็นคุณคุ้มครองดี อย่าให้มีซึ่งโรคา เป็นคุณช่วยรักษา สรรพภัยไม่แผ้วพาน
- อานุภาพพระชินะ อุปัทวะอย่ารู้หาญ ห่างไกลไม่ระราน ประสบงานสวัสดี
- อานุภาพพระธรรมะ ให้ชำนะความอัปรีย์ ห่างไกลคนใจผี กาลกิณีไม่กล้ำกราย
- อานุภาพพระสังฆะ ให้ชำนะอันตราย ไม่เห็นคนใจร้าย ไม่มั่นหมายมาราวี
อานิสงส์และประโยชน์ของการสวดพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ
หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ
ร่วมสนับสนุนการสั่งสมบุญโดย
สังฆทานเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญให้ทาน เป็นการทำบุญในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามความเชื่อ ความศรัทาของชาวพุทธ ประโยชน์ของการถวายสังฆทาน จึงมีผลด้านจิตใจ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของและความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง และสิ่งที่เราบริจาค ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ก็ยังสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับได้ ตามความเชื่อนั้น การถวายสังฆทาน เป็นวิธีทำบุญที่ได้บุญ-อานิสงส์มาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด (ให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดประโยชน์ และได้รับบุญมาก)
สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร สำหรับถวายสังฆทานพระสงฆ์ สูตรไม่ผิดพระวินัย
สบู่สมุนไพร ตรา โสฬส
สบู่สมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น และผลิตเป็นก้อนแบบ Cold Process เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันสกัดจากผลปาล์ม, สารสกัดจากรากชะเอม, เสลดพังพอนตัวผู้, สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และวิตามินอี จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน รักษาสมดุลความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง ลดผื่นแพ้ และอาการคัน
เลขที่ใบรับแจ้ง : 74-1-6200034560
ราคา 129 บาท (ปกติราคา 150 บาท)
แชมพูสมุนไพร ตรา โสฬส
แชมพูสมุนไพรที่ช่วยรักษาความชุ่มชื่น ลดอาการระคายเคือง อาการคัน ให้กับหนังศีรษะ ที่ใช้สมุนไพรจากกรรมวิธีสกัดเย็น เพื่อคงคุณค่าของสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว, ว่านหางจระเข้, เมล็ดมะรุม, ใบบัวบก และวิตามินบี 5 จึงเหมาะแก่การนำมาถวายเป็นสังฆทาน เพราะนอกจากจะสามารถใช้ทำความสะอาด และคงความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะ
เลขที่ใบรับแจ้ง : 10-1-6200032020
ราคา 189 บาท (ปกติราคา 250 บาท)
ราคาจัดชุดสังฆทาน 299 บาท